7 ตำนานความเชื่อวันลอยกระทง
7 ตำนานความเชื่อวันลอยกระทง วันเพ็ญเดือน 12 น้ำคะนองเต็มตะหลิ่ง เพลงนี้เป็นเพลงที่ค่อนข้างจะคุ้นหูของชาวไทยทุกคนเพราะเป็น ประเพณีที่เกี่ยวกับสายน้ำของคนไทย ซึ่งมีมาอย่างยาวนาน และยังเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับสายน้ำ ในการขอโทษขอขมาพระแม่คงคา เทพเจ้าผู้ปกปักรักษา แม่น้ำที่เราใช้กันอยู่ในทุกๆวัน ซึ่งหลายๆคนยังไม่รู้ว่าที่มาที่ไปของประเพณีนี้ มีมาอย่างไรและที่สำคัญรู้หรือไม่ว่า ประเพณีลอยกระทงก็ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการลอยกระทงอีกด้วย
เว็บอัพเดทข่าวสารที่เกี่ยวกับโชคลาภที่ดีที่สุดสำหรับคุณ นงน้อย.com
ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง
การลอยกระทงนั้นสันนิษฐานว่ามีมาอย่างยาวนานไม่สามารถบอกได้ว่ามีมาตั้งแต่รัชสมัยของกษัตริย์องใด หรือ ในสมัยอารยธรรมใดๆ แต่ประเพณีนี้ได้รับการสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเพราะมีการค้นพบศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้เรียกพิธีดังกล่าวนี้ว่า พิธีจองเปรียญหรือการลอยพระประทีป ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้นมีการกล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของเมืองสุโขทัย ทำให้นักวิชาการหลายๆท่านได้สันนิษฐานว่างานนี้น่าจะเป็นประเพณีลอยกระทง และในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านยังได้สันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงนั้น เป็นพิธีของพราหมณ์ ที่จะจัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชา เทพเจ้าทังสามพรองค์นั่นคือ พระศิวะ พระนารายณ์ และ พระพรหม หรือมีอีกความเชื่อนึงที่มีการปรากฏในหนังสือนางนพมาศ ว่า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงเป็นผู้ที่คิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังที่มีปรากฏในหนังสือนางนพมาศว่า ครั้งเมื่อวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอยซึ่งจะคิดทำให้แตกต่างจากสนมทั้งปวง จึงได้เลือกผกาเกษรสีต่างๆมาประดับเป็นรุปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ และเมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จทางชลมารค แล้วทอดพระเนตรเห็นกระทง ก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงรับสั่งให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และมีการจัดประเพณีนี้ขึ้นในทุกๆปี แรกเริ่มนั้นประเพณีลอยกระทงหรือการลอยโคม ถูกจัดขึ้น เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าและรอยพระพุทธบาท แต่ในปัจจุบันนั้นการลอยกระทง ถือเป็นการขอขมา พระแม่คงคา เทพเจ้าแห่งสายน้ำที่ ผู้คนนั้นใช้ชีวิตผูกพันกับสายน้ำมาตั้งแต่เกิด เพราะเนื่องจากสมัยก่อน ผู้คนจะใช้ชีวิตทางน้ำเป็นหลักมีการสัญจรทางน้ำ ใช้น้ำในการอุปโภคและบริโภคนั่นเอง ทำให้เกิดเป็นประเพณีลอยกระทงขึ้นมา แต่การลอยกระทงนั้นเองก็ยังมี 7 ความเชื่อเกี่ยวกับการลอยกระทงนั่นคือ
7 ความเชื่อวันลอยกระทง
กระทงคว่ำ
การลอยกระทงนั้น ต้องทำกระทงให้ดีไม่งั้น ตามความเชื่อแล้วหากลอยไปแล้วกระทงคว่ำหมายถึง เป็นลางที่ไม่ดี อาจจะมีเรื่องที่ไม่ดี เกิดขึ้น หรือหากกำลังจะทำสิ่งใดๆอาจเป็นลางบอกเหตุให้ระมัดระวังอาจจะมีปัญหาอุปสรรคเข้ามาทำให้งานล่มทำอะไรไม่สำเร็จอย่างที่ตั้งใจ แต่การไม่ตื่นตระหนกอาจจะดีที่สุดเพราะกระทงคว่ำอาจจะเป็นเพราะกระแสน้ำด้วย
ได้แฟน
มีความเชื่อกันว่า วัน ลอยกระทงนั้นจะได้แฟน เรื่องนี้ถ้าหากอ้างอิงค์ตามหลักความจริงนั้นอาจจะคิดได้ว่า ในสมัยก่อนผู้คนมักอยู่แต่บ้านไม่ค่อยได้ออกไปพบปะกันมากเท่าไหร่เพราะจะต้องทำงานหาเลี้ยงชีพกัน แต่ในประเพณีลองกระทง เป็นงานใหญ่ทำให้มีการพบปะกันเป็นจำนวนมากอาจจะเจอคนถูกใจ จนได้คบเป็นแฟนนั่นเอง
ใส่เหรียญลงไปในกระทง
มีความเชื่อกันว่าถ้าหากใส่เหรียญลงไปในกระทงนั้นจะเป็นการเรียกโชคเรียกทรัพย์ เรียกความมั่งคั่ง ให้แกเจ้าของกระทงใบนั้นๆ
ตัดเล็บ ตัดผม
การลอยกระทงนั้นยังมีความเชื่อกันว่าเป็นการลอยทุกข์ลอยโศกทั้งหลายที่พบเจอ โดยต้องตัดผมตัดเล็บซึ่งเป็นสิ่งที่แทนความทุกข์ของเจ้าชะตาให้ลอยไปกับแม่น้ำหรือฝากสิ่งนั้นกับพระแม่คงคานั่นเอง
กระทงแยกคือคู่รักแยกทางกัน
ความเชื่อเกี่ยวกับการเสี่ยงทายเรื่องคู่รัก โดยคู่รักส่วนใหญ่ที่ไปลอยกระทงโดยกันนั้นจะนิยมเสี่ยงทาย โดยมีความเชื่อว่าหาก ลอยกระทงแล้วกระทงของทั้งคู่ไปด้วยกันจะสมหวังในความรัก แต่ถ้าหากแยกทางกันจะเกิดเรื่องทำให้ต้องเลิกรากันไปนั่นเอง
ลอยกระทงกับแฟนแล้วจะเลิกกัน
ความเชื่อนี้สันนิษฐานว่ามาจาก ความเชื่อก่อนหน้าเพราะ ถ้าหากเสี่ยงทายแล้วไปเป็นไปตามที่ต้องการอาจจะเกิดความระหองระแหงกันจนทำให้แยกทางกันในที่สุดนั่นเอง
อาบแสงจันทร์เพิ่มพลังชีวิต
ความเชื่อในวัน ลอยกระทงอย่างสุดท้ายคือ จะต้องอาบน้ำใต้แสงจันทร์เพราะวันดังกล่าวพระจันทร์จะเต็มดวง เป็นวันแรง ถ้าอาบน้ำใต้แสงจันทร์ในวันนั้น จะช่วยชำระล้างสิ่งไม่ดีออกไปได้
สรุป
สุดท้ายนี้ ความเชื่อในเรื่องของวันลอย กระทงนั้น ไม่ควรเอามารวมกับความเป็นจริง และไม่ควรคิดมากจนทำให้เกิดความประมาท ในชีวิตจนเกิดเหตุตามความเชื่อนั้นๆ สิ่งที่ต้องทำคือการมีสติ ในทุกๆเวลาเพื่อหลีกหนีจากเรื่องร้ายๆนั่นเอง
ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับสายมู ความเชื่อ และโชคลาภอีกมากมาย ท่านสามารถติดตามที่จากเว็บนี้