ใบเสมา ที่เห็นในวัด คืออะไร บ่งบอกถึงอะไร

ใบเสมา ที่เห็นในวัด คืออะไร บ่งบอกถึงอะไร

ใบเสมา ที่เห็นในวัด คืออะไร บ่งบอกถึงอะไร หลายๆท่านทั้งที่เป็นชาวพุทธก็ดีทั้งคนที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธก็ดี หากท่านเคยเข้าไปร่วมงานบวชหรือพิธีต่างๆในวัดของศาสนาพุทธโดยรอบพระอุโบสถจะมีแท่งขึ้นที่ถูกวางไว้รายล้อม ที่ชาวพุทธเรียกว่าเสมา ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่าใบเสมา คืออะไร มีไว้เพื่ออะไร บ่งบอกถึงอะไร  

เว็บอัพเดทข่าวสารที่เกี่ยวกับโชคลาภที่ดีที่สุดสำหรับคุณ นงน้อย.com

ข้อมูลโดยทั่วไป

ใบ เสมา  หรือ สีมา จะมีลักษณะเป็นแผ่นหินสกัดมีความหนาประมาณ 5-7 เซนติเมตร รูปทรงด้านล่างสุดจะเป็นสี่เหลี่ยม ถัดมาจะโค้งเว้าเข้าไปส่วนปลายด้านบนจะมีลักษณะมนๆรีๆคล้ายๆกับใบโพธิ์ บางที่จะมีการแกะสลักลวดลายลงไปที่ใบสีมาเป็นรูปธรรมจักร จะประดิษฐาน คร่อมลูกนิมิตทั้ง 8 ทิศ 8 ลูกบริเวณโดยรอบพระอุโบสถ

ความหมายของใบเสมา

เสมา หรือ สีมานั้น มีความหมายว่าการกำหนดเขตแดน จึงหมายถึงการที่กำหนดเขตแดนขอบเขตของนิมิตที่เหนือนิมิตนิยม หรือถ้าหากจะพูดในวามหมายที่เข้าใจง่ายๆนั่นคือ หน้าที่ของสีมานั่นคือการกำหนดเขตแดนระหว่างพระสงฆ์และปุถุชน เพื่อให้พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นได้ทำสังฆกรรมโดยได้กำหนดเขตแดนขึ้นมาในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้มีการกำหนดเขตแดนขึ้นมาด้วยวัตถุบางอย่างขึ้นมาที่เรียกว่า การผูกสีมา หรือการผูกเขตแดนซึ่งพระพุทธเจ้าได้กำหนดเอาไว้ด้วยกันทั้งหมด 8 อย่างคือ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ และน้ำนิ่ง โดยเรียกรวมเขตแดนเหล่านี้ว่านิมิต ในสมัยต่อมาหลังจากที่พระพุทธเจ้าสิ้นไปแล้วนั้นจึงมีการกำหนดเขตแดนนิมิตใหม่แทนเขตแดนธรรมชาติ เช่น บ่อ คู สระ และ ก้อนหิน ซึ่งก้อนหินเป็นที่นิยมมาก จากเกิดเป็นลูกนิมิต และมีพิธีฝังลูกนิมิต ในเวลาต่อมา และ เสมา นอกจากจะบ่งบอกถึงเขตของพระสงฆ์แล้วนั้น ยังบ่งบอกได้อีกว่า วัดนั้นเป็นวัดราษ หรือ วัดหลวง ให้สังเกตจากใบ เสมา ถ้าหากใบ เสมา มีใบเดียว ต่อลูกนิมิต 1 ลูก นั้นแปลว่าเป็นวัดราษ แต่ถ้าหาก มีใบ เสมา 2 ใบต่อลูกนิมิต 1 ลูกนั้นแปลว่าเป็นวัดหลวง 

ใบเสมา ที่เห็นในวัด คืออะไร บ่งบอกถึงอะไร

ประวัติใบ เสมา  

ใบ เสมานั้น สันนิษฐานว่ามีวิวัฒนาการมาจากวัฒนธรรมหินตั้งของชาวพื้นเมืองเดิมในเอเชียตะวันออกที่เชื่อในเรื่องของการนับถือผีและวิญญาณบรรพบุรุษที่ได้หลอมรวมเข้ากับ พุทธศาสนา จนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยจากการศึกษานั้นพบว่ามีการสร้างอย่างแพร่หลายมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 และในช่วงอารยธรรมของทวารวดี ที่มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากทำให้อารยธรรมนี้แพร่หลายและส่งต่อการขีดเส้นแบ่งของ เขตพระสงฆ์ มาจนถึงปัจจุบัน โดยเสมาในวัฒนธรรมของทวารวดีนั้นจะมีลักษณะเป็นแท่งหินขนาดใหญ่ในบางที่ที่ค้นพบนั้นจะมีลักษณะเป็นแท่งหินธรรมชาติ เป็นแผ่นหินที่ไม่มีการทำให้เป็นรุปร่าง มีทั้งแบบเรียบและ แบบที่มีการแกะรวดลายต่างๆลงไป ลักษณะที่พบจะมีดังนี้ การแกะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมคล้ายสถูปในบริเวณของกึ่งกลางใบ ซึ่งสถูปนั้นเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า การแกะสลักเป็นหม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์หรือที่เรียกว่า หม้อปูรณฆฏะ มีลักษณะเป็นภาชนะทรงกลม มีการประดับลวดลายของไม้เลื้อยหรือดอกไม้ขึ้นเป็นรูปกรวยยอดแหลม ซึ่งการแกะหม้อน้ำนี้นั้นได้รับความเชื่อมาจากอินเดียโบราณ เพราะหม้อปูรณฆฏะนี้แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ไม่ขาดแคลนไม่มีความอดอยากเกิดขึ้น  รูปต่อมาที่นิยมแกะกัน จะเป็นรูปของชาดกพระพุทธเจ้าหรือเรื่องราวสำคัญๆที่เกิดขึ้นในการเผยแผ่ศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสุดท้ายที่นิยมกันมากที่สุดนั่นคือการแกะสลักรูปธรรมจักรในบริเวณตรงกลางของเสมาซึ่งสัญลักษณ์ธรรมจักรนี้แสดงถึงการที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาเผยแผ่ยังดินแดนแห่งนี้แล้ว นั่นเอง

สรุป

สุดท้ายนี้เสมานั้น ถ้าหากจะกล่าวโดยสรุปทั้งหมดสำหรับหน้าที่ นั่นคือสร้างขึ้นมาเพื่อแยกระหว่างพระสงฆ์และชาวบ้านเพื่อใช้เป็นที่เพื่อการทำสังฆกรรมนั่นเอง แต่ ยังมีอีกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เมื่อเสมาเจอแดดเจอฝนไปนานๆนั้นจะเกิดตะไคร่ หรือดินจับที่เสมา สิ่งนั้นถือเป็นมวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่าไคลเสมา นิยมนำมาใช้ในการสร้างพระ เพื่อแจกให้ประชาชนได้บูชากัน มีพระเครื่อง หลายรุ่นที่มีการนำไคลเสมา มาเป็นส่วนประกอบ แต่บางตำราก็กล่าวไว้ว่า ไคลเสมาที่ดีที่สุดต้องเป็นไคลเสมาทางเข้าโบสถ์มหาอุตม์นั่นเอง

 

ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ ตำนาน ความเชื่อ และโชคลาภอีกมากมาย ท่านสามารถติดตามที่จากเว็บนี้