เสาชิงช้า เล่าขานพิธีโบราณสุดหวาดเสียว

เสาชิงช้า เล่าขานพิธีโบราณสุดหวาดเสียว

เสาชิงช้า เล่าขานพิธีโบราณสุดหวาดเสียว เชื่อว่าทุกๆท่านเคยเห็นเสาสีแดงลักษณะเหมือนประตู ที่ตั้งสูงตระหง่านอยู่บริเวณหน้าวัดสุทัศเทพวราราม ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศนิยมไปถ่ายรูปกัน แต่รู้หรือไม่ว่า เสา ชิงช้านี้มีไว้ทำไม วันนี้เรามาหาคำตอบกัน

เว็บอัพเดทข่าวสารที่เกี่ยวกับโชคลาภที่ดีที่สุดสำหรับคุณ นงน้อย.com

ข้อมูลพอสังเขป 

เสา ชิงช้ามีลักษณะเสาขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินมีความสูงจากฐาน 21.15 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางของฐานกลม 10.50 เมตรโดยประมาณฐานกลมด้านล่างนั้นก่อเป็นฐานปัทม์ด้วยหินล้างสีขาวบริเวณพื้นด้านบนนั้นถูกปูด้วยกระเบื้องดินเผาสีแดงมีบันไดขึ้นไปสองชั้นบริเวณแนวโค้งมีการติดแผ่นจารึกประวัติของเสา ชิงช้า เสาไม้ทั้งคู่ทำด้วยไม้สักทาด้วยสีแดงชาด และ เสา ชิงช้าถูกสร้างครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2321 ได้ขึ้นเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492 และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ โดยถอดเปลี่ยนเสาเมื่อปี พุทธศักราช 2549 รวมมีอายุ 222 ปี 

ความเป็นมาของเสาชิงช้า 

เสา ชิงช้า ถูกสร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือชื่อในจดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์คือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถได้มีรับสั่งให้จัดสร้างขึ้นเมื่อวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรงเพื่อใช้ในพิธีกรรม ตรียัมปวาย หรือ ตรีปวาย ซึ่งเป็นพิธีกรรมการโล้ชิงช้า เพื่อรับเสด็จเทพเจ้า ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดู สถานที่ตั้งแห่งแรกคือ บริเวณด้านหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ หลังจากนั้นในสมัยรัชการที่ 5 ด้วยข้อจำกัดด้านสถานที่จึงย้ายมาที่บริเวณด้านหน้าวัดสุทัศเทพวรรามหรือบริเวณลานด้านหน้าของศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ซึ่งสถาปัตยกรรมนี้ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้นั้น ยังมีบันทึกว่าสถาปัตยกรรมแบบนี้นั้นไม่ได้มีแค่เพียงที่กรุงเทพมหานครอย่างเดียวเท่านั้นแต่ ยังมีอีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าหอ พระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราชแต่ยกเลิกแล้วรื้อออกไปก่อน ก่อนที่จะสร้างขึ้นใหม่ในภายหลังโดยจำลองจากกรุงเทพมหานครนั่นเอง 

เสาชิงช้า เล่าขานพิธีโบราณสุดหวาดเสียว

พิธีโล้ชิงช้า ในพระราชพิธี ตรียัมปวาย  

พิธีโล้ชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมปวายนั้นเป็นการต้อนรับพระอิศวร ซึ่งเป็นเทพเจ้าตามความเชื่อของศาสนาพราห์มฮินดู จะจัดขึ้นทุกปีในวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน ยี่ การจัดพิธีนี้มีความเชื่อว่าเป็นการแห่เทพเจ้าเพื่อไปถวายพรพระมหากษัตริย์ แต่เดิมการจัดพิธีตรียัมปวายนั้นจะจัดขึ้นในเดือนอ้าย เมื่อผันเปลี่ยนเข้ามาสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้เปลี่ยนมาจัดพิธีกรรมตรียัมปวายนี้ในเดือนยี่แทน ซึ่งพิธีกรรมตรียัมปวายนี้เปรียบเสมือนการขึ้นปีใหม่ของพราหมณ์ซึ่งมีความเชื่อกันว่าใน 1 ปี นั้นพระอิศวรหรือพระศิวะเทพเจ้าของชาวพราหมณ์ฮินดูจะเสด็จลงมาเยี่ยมเยือนโลกมนุษย์เป็นเวลา 10 วันพราหมณ์ในศาสนาพราหมณ์นั้นทั้งหมดจะต้องประชุมสโมสรกันที่เทวสถานของพระอิศวรหรือพระศิวะ แล้วทำการผูกพรตชำระล้างร่างกายสระเกล้าสระผมเพื่อเตรียมตัวที่จะรับเสด็จเทพเจ้า เมื่อพระผู้เป็นเจ้า เสด็จลงมาที่โลกมนุษย์นั้นเทพเทวดาองค์อื่นๆจะมาเข้าเฝ้าด้วย ซึ่งตามความเชื่อแล้วเทวดาที่จะต้องมานั่นคือ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระแม่คงคา และ พระแม่ธรณี พราหมณ์ผู้ทำพิธีนั้นจะแกะสลักรูปและสัญลักษณ์แทนตัวขององค์เทพเทวดาแต่ละองค์ลงในไม้กระดาน 3 แผ่นเพื่อใช้ในการบูชาด้านในของเทวสถานหลังจากทำพิธีด้านในเสร็จแล้วจะนำไปปักในบริเวณหลุมหน้าโรงพิธีนั่งดูโล้ชิงช้า หันบริเวณหน้ากระดานเข้าหาตำแหน่งที่มีพระยายืนชิงช้านั่ง เรียกว่กระดานลงหลุม ในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน ยี่ หลังจากที่พระยายืนชิงช้านั่งในโรงราชพิธีแล้ว ผู้ที่จะโล้ชิงช้านั้นจะค่อยๆขึ้นชิงช้าทีละ 4 คนโล้ทั้งหมด 3 กระดานทั้งหมด 12 คนจากนั้นแบ่งหน้าที่กันดังนี้จะมีสองคนหันหน้าเข้าหากันมือสอดเชือกแล้วพนมมือ ส่วนอีกสองคนจะอยู่หัวท้ายคอบถีบโล้ชิงช้า เพื่อหยิบเงินรางวัล 1 ตำลึง โดยเงินจำนวน 1 ตำลึงนั้นจะผูกอยู่กับฉัตรที่ปักไว้แล้วมีส่วนของคันทวยยื่นออกไปในระยะห่างที่พอดีกับการโล้ชิงช้าจะไปถึงได้ ส่วนบรรดาผู้ชมและผู้คนด้านล่างนั้นจะปรบมือส่งเสียงเชียร์กันอย่างสนุกสนาน 

สรุป

ปัจจุบันการโล้ชิงช้านั้น ได้ถูกยกเลิกไปตั้งแต่สมัยรัชการที่ 7 เหลือเพียงสถาปัตยกรรมที่เป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานครไว้คอยบอกเล่าเรื่องราวพิธีกรรมและความเชื่อจากอดีต จนถึง ปัจจุบัน

ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ ตำนาน ความเชื่อ และโชคลาภอีกมากมาย ท่านสามารถติดตามที่จากเว็บนี้