เปิดพิธีกรรม “รำแม่มด” หรือ ” เรือมมะม็วด” ของชาวไทยเชื้อสายเขมร
พิธีกรรมและความเชื่อของคนอีสานที่เกี่ยวข้องกับผีนั้นมีมาอย่างยาว ไม่ว่าจะเป็นการนับถือ ผีบ้านผีเรือน ผีปู่ตา ผีตาแฮก ที่ช่วยให้ผลผลิตของไร่นาอุดมสมบูรณ์ วันนี้เราจะมานำเสนอความเชื่อเรื่องผีของคนไทยเชื้อสายเขมร นั้นก็คือการ รำแม่มด หรือ เรือมมะม็วด จะมีที่มายังไง การรำแม่มดนี้จะช่วยในเรื่องอะไร บทความนี้มีคำตอบ
อัพเดทเว็บข่าวสารที่เกี่ยวกับโชคลาภที่ดีที่สุดสำหรับคุณ นงน้อย.com
พิธีกรรมการรักษาโรคด้วยผี
คนอีสานใต้ในอดีตมีความเชื่อเรื่องของการรักษาโรคโดยพิธีกรรมการนับถือผี โดยหวังให้ผู้ที่มารักษาหายจากการเจ็บไข้ได้ป่วย ให้ชีวิตมีแต่ความสงบสุข
การรักษาโรคด้วยพิธีกรรมเกี่ยวกับผี เป็นวิธีรักษาโดยไม่ได้ใช้ ยา หรือสมุนไพร แต่เครื่องมือที่ใช้จะเป็นกิจกรรมที่เป็นสื่อในการทำการรักษานั้นก็คือ เสียงดนตรีและการฟ้อนรำ หรือที่เรียกว่า สังคีตบำบัด แต่ละชาติพันธุ์ของคนในอีสานก็จะมีพิธีแตกต่างกันออกไป เช่น คนส่วยหรือกูยนับถือผีนางออหรือผีแม่สะเอ็ง คนลาว(อีสาน)นับถือผีฝ้าหรือผีแถน คนเยอนับถือผีแม่สะเอ็ง และคนเขมรนับถือผีมะม็วดหรือแม่มด เป็นต้น
รำแม่มด หรือ เรือมมะม็วด
การรำแม่ดำในภาษาเขมรเรียกได้หลายชื่อเช่น เรือมมะม็วด ปัญโจลมม็วด โจลมม็วดหรือการรำมะม็วด เป็นพิธีกรรมความเชื่อที่สืบต่อกันมาของคนเขมรในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์ เป็นพิธีกรรมที่คนเขมรเชื่อว่าวิญญาณ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผี แม่มด และดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ จะมาช่วยรักษาโรค อาการเจ็บป่วยต่างๆที่เป็นโดยไม่มีเหตุผล กินยาไม่หาย บรรพบุรุษของชาวเขมรใช้ภูมิปัญญาที่มีจึงได้จัดพิธีกรรมนี้ขึ้นเพื่อรักษาและปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกจากผู้ที่ป่วยไข้ โดยจะมีครูมะม็วด หรือแม่มะม็วด ที่มีญาณทิพย์สามารถสื่อสารกับแม่มด เทวดาได้เป็นผู้ดำเนินพีธีกรรม ในการทำนายสาเหตุและวิธีการรักษาโรค ผู้ที่เป็นครูมะม็วดหรือแม่มะม็วดจะต้องทำวิธีไหว้ครูทุกปี เพื่อรักษาญาณของตนไว้ พิธีกรรมมะม็วดจะถูกจัดขึ้นบริเวณบริเวณลานหน้าบ้านของผู้ที่ป่วย โดยนำเสา 9 ต้นมาสร้างประรำ เสาตรงกลางจะมีไว้สำหรับผูกประต็วล เป็นทรงกรวยคล้ายภาชนะเอาไว้ใส่เครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ
เครื่องเซ่นไหว้และเครื่องประกอบพิธีกรรม
- ขนมต้ม ไก่ต้ม กรวยดอกไม้ 5 อัน เทียน 2 เล่ม วางไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้ที่เสากลาง
- กระเชอใส่ข้าวเปลือกวางไว้ด้านล่างของเสากลาง
- จวมกรูมะม็วดหรือกระทงแม่มด ที่ทำจากมะพร้าวสดปอกเปลือกแล้วนำไปทาสีเหลือง เพื่อใช้เป็นการบูชาในตอนที่นำแม่มดเข้าทรง
- กระทงบูชาพระพุทธ 1 คู่
- ข้าวสาร 1 จาน เงิน 1 บาท เทียน 1 เล่ม
- พานขันโตกใบใหญ่ใส่ข้าวสารครึ่งขัน
- หมาก 1 ลูก พลู 3 ใบ กรวยใบตอง 1 คู่ กรวยหูกระต่าย 1 คู่ และเทียน 1 คู่
- เครื่องบวงสรวง ที่ทำจากก้านกล้วย
ที่ให้แทนดวงวิญญาณเพศชาย 1 ชุด อีก 1 ชุดให้แทนดวงวิญญาณเพศหญิง
พิธีกรรม รำแม่มด หรือ เรือมมะม็วด
ครูมะม็วดนั่งเข้าทรงในพิธีข้างๆครูจะมีขันหมากพลู ดาบ เครื่องรางของขลัง รวมกันอยู่ในถาด เมื่อดนตรีจาก ซอ แคน ฆ้อง และกลองดังขึ้น ครูมะม็วดจะจุดเทียน และจับขันหมากพลูหมุนไปมา เมื่อแม่มดเริ่มประทับทรง ครูมะม็วดจะลุกขึ้นแต่งตัวและร่ายรำดาบฟันไปที่ต้นกล้วย ที่เป็นตัวแทนของคนป่วย ครูมะม็วดที่แม่มดเข้าสิงร่างอากัปกิริยาจะต่างออกไปเป็นคนละคน บางคนร้องโวยวาย บางคนร้องไห้ หรือบางคนโกรธ ก็จะทำนายได้ว่าผู้ที่ป่วยอาจไปทำความผิดต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์มา ญาติพี่น้องจะต้องช่วยกันถามร่างทรงหาวิธีแก้ไข เมื่อร่างทรงบอกวิธีแก้ไขให้ญาติและผู้ป่วยทำตาม และเมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นแล้ว ก็จะมีพิธีผูกข้อมือเป็นการเรียกขวัญ และการรำมะม็วดจะต้องถูกจัดขึ้นอีกหลังจากที่ผู้ป่วยกลับมาแข็งแรงดีแล้ว เพื่อเป็นการขอบคุณ ผีมะม็วด หรือ ผีแม่มด ที่ช่วยรักษาให้หายจากโรคภัย
สรุป
พิธีกรรมการรำแม่มด หรือ เรือม มะม็วด ของคนเขมรนั้นมีมาอย่างยาวนานตั้งแต่โบราณและได้มีการส่งต่อภูมิปัญญานี้รุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ในสมัยนี้พิธีกรรมนี้อาจจะมีให้เห็นอยู่น้อยมาก เนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปมาก แต่ก็ยังสามารถพบได้ในแถบชายแดนอีสานใต้ ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก ยังมีบางบ้านหมู่บ้านที่ยังมีการรักษาด้วยพิธีการรำแม่มดหรือเรือม มะม็วดนี้อยู่
ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ ตำนาน ความเชื่อ และโชคลาภอีกมากมาย ท่านสามารถติดตามที่จากเว็บนี้