เปิดประวัติและตำนานนางสงกรานต์ทั้ง 7

เปิดประวัติและตำนานนางสงกรานต์ทั้ง

เปิดประวัติและตำนานนางสงกรานต์ทั้ง 7 วันสงกรานต์เปรียบเสมือนวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทยของเรา อีกทั้งยังเป็นวันสำคัญที่เราได้แสดงความกตัญญูและได้อยู่กับครอบครัว แต่ หลายๆท่านรู้กันหรือไม่ว่า วันสงกรานต์ที่เราเฉลิมฉลองกันอยู่ในทุกปีนั้น มีตำนานเล่าขานกันมาอย่างไร วันนี้เราจะพาไปรู้จักตำนานวันสงกรานต์และนางสงกรานต์ในแต่ละปีกัน

เว็บอัพเดทข่าวสารที่เกี่ยวกับโชคลาภที่ดีที่สุดสำหรับคุณ นงน้อย.com

ตำนานวันสงกรานต์ 

ตำนานวันสงกรานต์ที่มีการอ้างอิงค์มาจากจารึกของวัดพระเชตุพลวิมลมังคลารามฯ กรุงเทพมหานครนั้น มีการกล่าวถึงตำนานของวันสงกรานต์ว่า มีเศรษฐีผัวเมียคู่หนึ่งอยู่กินกันมาช้านานไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ไม่มีบุตรมาสืบสกุล ได้ไปบวงสรวงขอบุตรจากพระอาทิตย์และพระจันทร์แต่ก็รอมาอีกหลายปีก็ไม่มีบุตร จนกระทั่งฤดูร้อนปีหนึ่งเวียนมาถึง เศรษฐีได้มีการนำข้าวสารซาวน้ำ 7 สี หุงบูชารุขพระไทร พร้อมถวายเครื่องบรรณาการต่างๆและให้มีการประโคมดนตรี จากนั้นเศรษฐีได้ตั้งจิตเพื่อขอบุตร ด้วยจิตอันแน่วแน่ และ พระไทรรุขเทวดานั้นได้เห็นใจ พระไทรจึงได้เหาะไปยังวิมานของพระอินทร์เพื่อขอบุตรมาให้แก่เศรษฐี พระอินทร์จึงได้มอบบุตรตามที่พระไทรทูลขอเพื่อนำมาให้แก่ผู้เป็นภรรยาของเศรษฐี จนได้ตั้งครรภ์และคลอดบุตรชายที่มีชื่อว่า ธรรมบาลกุมาร ธรรมบาลกุมารผู้นี้ เป็นผู้ที่มีปัญญาหลักแหลมจนชื่อเสียงของความมีปัญญานั้นขจรไกลไปทั้งสามโลกจน มาเข้าหูของท้าวกบิลพรหม จนท้าวกบิลพรหมได้ลงมาทดสอบปัญญาโดยได้ถามปัญหา 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารสามารถตอบได้ท้าวกบิลพรหมจะทำการจัดเศียรเพื่อบูชา หากตอบไม่ได้จะทำการตัดเศียรธรรมบาลกุมารเสีย โดยมีคำถาม 3 ข้อว่า ข้อที่ 1 ตอนเช้าราศรีจะอยู่ที่ได้ ข้อที่ 2 ตอนเที่ยงราศรีจะอยู่ที่ใด ข้อที่ 3 ตอนเย็นราศรีจะอยู่ที่ใด โดยมีเวลาให้ ธรรมบาลกุมารทั้งหมด 7 วัน เมื่อผ่านเวลาไป 6 วัน ธรรมบาลกุมารกลุ้มใจจึงไปนั่งอยู่ใต้ต้นตาล ด้วยความที่ธรรมบาลกุมาร สำเร็จวิชาภาษานก ทำให้ได้ยินนกอินทรีสองผัวเมียที่เกาะอยู่บนกิ่งไม้คุยกันว่า นากนกอินทรีย์ได้ถามสามีว่าพรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารในที่แห่งใดกันดี ฝ่ายสามีจึงตอบว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมารที่จะถูกท้าวกบิลพรหมฆ่ากันเพราะตอบคำถามไม่ได้ ฝ่ายนางนกอินทรีย์จึงได้ถามต่อไปว่า คำถามคืออะไร สามีจึงเล่าให้ฟังแต่นางนกก็ไม่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้เช่นกัน สามีจึงบอกว่า ตอนเช้า ราศีอยู่ที่หน้า เพราะคนต้องล้างหน้าล้างตาทุกเช้าก่อนออกไปทำงาน ตอนเที่ยงราศีอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมอก ตอนค่ำ ราศีอยู่ที่ท้าว เพราะคนเมื่อออกไปทำงานต่างๆมาย่อมย่ำสิ่งไม่ดีมาจึงต้องล้างทำความสะอาดก่อนเข้าบ้าน เมื่อได้ยินดังนั้น ธรรมบาลกุมารจึง จำคำตอบ แล้วมาตอบท้าวกบิลพรหมในวันรุ่งขึ้น ธรรมบาลกุมารสามารถตอบปัญหาได้ ท้าวกบิลพรหมจึงจะตัดเศียรเพื่อบูชาธรรมบาลกุมาร ก่อนจะตัดเศียรจึงได้เรียกธิดาทั้ง 7 อันเป็นบาทบาจาริกาของพระอินทร์มาชุมนุมประชุมพร้อมกันว่า เราจะตัดเศียรเพื่อบูชาธรรมบาลกุมารแต่ เศียรของกบิลพรหมนั้นหากตั้งไว้ในโลกไฟจะไหม้โลก โยนขึ้นบนอากาศฝนก็จะแล้ง ถ้าทิ้งในมหาสมุทรน้ำจะเหือดแห้ง จึงมีรับสั่งให้ธิดาทั้ง 7 นำพานมารองรับ แล้วจึงตัดเศียรให้ แล้วนำไปเก็บไว้ที่ ถ้ำคันธุลี ณ เขาไกรลาศ โดยในทุกๆปี ธิดาทั้ง 7 จะต้องทำหน้าที่อัญเชิญเศียร ท้าวกบิลพรหม แห่ไปรอบเขาพระสุเมรุเป็นเวลา 60 นาที แล้วนำไปประดิษฐานที่เดิม 

เปิดประวัติและตำนานนางสงกรานต์ทั้ง 7

นางสงกรานต์ทั้ง 7  

พระธิดาทั้ง 7 ของท้าวกบิลพรหม จึงถูกเรียกว่า นางสงกรานต์ ในเวลาต่อมา โดยพระธิดาทั้ง 7 มีดังนี้ 

  • นางทุงษะเทวี  

เป็นพี่สาวคนโตสุดและเป็นคนแรกที่ได้ทำหน้าที่ในการรับเศียรท้าวกบิลพรหม นางทุงษะเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ ใบหูทัดดอกทับทิม มีเครื่องประดับเป็นปัทมราค(ทับทิม) และมีภักษาหาร คือ อุทุมพร (มะเดื่อ) มีอาวุธคู่กายคือ พระหัตถ์ขวาถือจักร พระหัตย์ซ้ายถือสังข์ เสด็จในท่าไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์ครุฑ 

  • นางโคราคเทวี 

นางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ ใบหูทัดดอกปีป มีมุกดาหารหรือใข่มุกเป็นเครื่องประดับ มีภักษาหารคือ เตละ หรือ น้ำมัน และยังมีอาวุธคู่กาย ในพระหัตย์ขวาถือพระขรรค์พระหัตย์ซ้ายถือไม้เท้า เสด็จประทับเหนือ พยัคฆ์ หรือ เสือ 

  • นางรากษเทวี  

นางสงกรานต์ประจำวันอังคาร มีลักษณะทัดดอกบัวหลวง มีโมราหรือหิน เป็นเครื่องประดับ มีภักษาหารคือโลหิต อาวุธคู่กาย มือขวาถือตรีศูล มือซ้ายถือธนู เสด็จประทับเหนือหมู 

  • นางมณฑาเทวี  

นางสงกรานต์ประจำวันพุธ ผู้มีดอกจำปาทัดอยู่ที่ใบหู และมีไพฑูรย์ เป็นเครื่องประดับ มีภักษาหาร คือนมและเนย พระหัตย์ขวาถือเหล็กแหลม พระหัตย์ซ้ายถือไม้เท่า เสด็จไสยาสน์เหนือลา 

  • นางกิริณีเทวี  

นางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี ทัดดอกยี่หุบ ทรงเครื่องประดับด้วยมรกต ภักษาหารคือถั่วและงา พระหัตย์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตย์ซ้ายถือปืน เสด็จไสยาสน์เหนือช้าง  

  • นางกิมิทาเทวี 

นางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ ทัดดอกจงกลนี ทรงเครื่องประดับด้วยบุษราคัม มีภักษาหารคือ กล้วยและน้ำ พระหัตย์ขวาถือพระขรรค์พระหัตย์ซ้ายถือพิณ เสด็จประทับยืนเหนือควาย

  • นางมโหธรเทวี  

นางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ผู้ทัดดอกสามหาว หรือ ผักตบชวา มีเครื่องประดับเป็น นิลรัตน์ มีภักษาหารคือเนื้อทราย มือขวาถือจักร มือซ้ายถือตรีศูล เสด็จประทับเหนือนกยูง 

สรุป 

นางสงกรานต์ทั้ง 7 นั้นยังเป็นเครื่องหมาย แสดงถึงการทำนายทายทักในแต่ละปีว่าแต่ละปีนั้นปริมาณน้ำฝนจะเป็นอย่างไร นั่นเอง

ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับสายมู ความเชื่อ และโชคลาภอีกมากมาย ท่านสามารถติดตามที่จากเว็บนี้