เปิดตำนาน ยันต์อักขระล้านนา ของขลังวิชาโบราณ
เปิดตำนาน ยันต์อักขระล้านนา ของขลังวิชาโบราณ บ้านเมืองของเรานั้นขึ้นชื่อในเรื่องของความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีการผสมปนเปกันจนกลายเป็นชาติไทยในปัจจุบันนี้ แม้แต่ความเชื่อเองดินแดนแห่งนี้ก็มีความเชื่อหลากหลายไม่ว่าจะเป็นครูหมอโนราห์ของทางภาคใต้ แถน ผีฟ้ารักษาชาวบ้านของชาวอีสาน พ่อแก่ครูโขนครูลิเกของทางภาคกลาง และ ความเชื่อที่เราจะกล่าวถึงกันในบทความนี้นั่นคือ ยันต์อักขระ ล้านนา ของขลังตำนานวิชาโบราณ
ก่อนจะไปเนื้อหาอื่นในบทความนี้ คุณรู้หรือไม่ นงน้อย.com เว็บอัพเดพข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องโชคลาภ มีเรื่องราวที่น่าสนใจรอท่านอยู่ รวมถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับการสักยันต์
พื้นฐานความเชื่อเรื่องยันต์
ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับ ยันต์ อักขระล้านนา นั้นเราต้องมีความเข้าใจถึงความเชื่อในเรื่องของยันต์ก่อน ยันต์นั้นคืออักขระที่เขียนขึ้นตามความเชื่อที่ว่าถ้าหากเรามีสิ่งนี้กับตัวจะทำให้หนังเหนียว ซึ่งยันต์นั้นมีหลักฐานการค้นพบด้วยกันหลายรูปแบบเนื่องจากในสมัยโบราณยังไม่มีประเทศไทยอยู่ในทุกวันนี้ มีแต่เพียงอาณาจักรของใครของมันเท่านั้นและแต่ละอาณาจักรมีการทำศึกสงครามและการรบพุ่งกันอยู่ตลอดเวลา ทำให้อาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอดีตนั้นได้รับอิทธิพลในเรื่องของยันต์มาจากอาณาจักรขอม ยันต์คืออักขระหรือคำที่เขียนพระคาถาต่างๆลงไปไม่ว่าจะเป็นตะกรุด ผ้ายันต์ ธง ของขลัง หรือแม้แต่การสักบนร่างกายของคนนั้นๆเช่นเดียวกัน ซึ่งพระคาถาต่างๆนั้นจะประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 หรือดินน้ำลมไฟ และคำสรรเสริญพระพุทธเจ้าชัยชนะของแต่ละเหตุการณ์เช่นอาฬวกะยักษ์ หรือ ชนะ องคุลีมาร ทำให้ความเชื่อเรื่องยันต์ถูกถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีศึกสงครามแล้ว คนก็ยังนิยมชมชอบยันต์อยู่ดีแต่มีการเปลี่ยนพระคาถาเช่นในปัจจุบันถ้าหากจะค้าขายต้องมียันต์หัวใจพระสีวลีพระอัครสาวกที่ขึ้นเชื่อในเรื่องลาภสรรเสริญนั่นเอง
ตำนานยันต์อักขระล้านนา
ยันต์โบราณของทางล้านนานั้นมีการสืบทอดผ่านทายาทครอบครัวและผู้ที่สนใจของทางเมืองเหนือสืบต่อกันมาจนเริ่มหายไปจากปัจจุบัน ซึ่งยันต์โบราณล้านนานั้นมีการพบหลักฐานด้วยคือผ้ายันตร์ที่มีการจารอักษร ตั๋วเมือง หรือภาษาล้านนาโบราณและภาษาขอมลงไป ซึ่งวัสดุที่ค้นพบนั้นจะเป็นผ้าด้ายดิบที่มีการลงอักษร ตั๋วเมือง ไว้ด้วยยางพืชและสีต่างๆที่ได้จากวัสดุธรรมชาติ ที่มีสีครั่ง สีแดง และ สีเขียว แต่ละผืนมีลักษณะตามอายุตามกาลเวลาที่ผันผ่านไป บางผืนมีร่องรอยของมีคมเปื้อนเลือด บางผืนพบรอยลูกปืนที่ยิงเข้าไปในยันต์แล้วไม่ทะลุ
การสืบทอดความเชื่อ ตำนานของขลังยันต์ล้านนา
เป็นธรรมดาของทุกสิ่งบนโลกใบนี้ที่จะค่อยสูญสลายหายไปตามกาลเวลา แต่ในปัจจุบันนั้น พระครูปลัด สุวัฒนจริยคุณ วัดสบเกี๋ยง อำเภอปง จังหวัดพะเยา ได้เล็งเห็นว่าในปัจจุบันผ้ายันต์โบราณของเมืองเหนือที่ส่งต่อจากคนโบราณมาสู่ลูกหลานชาวเมืองเหนือ ผ้ายันต์ที่ลูกหลานชาวเมืองเหนือครอบครองอยู่นั้นกำลังถูกกว้านซื้อโดยชาวต่างชาติ หากปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปยันต์อักขระ ล้านนาจะสาบสูญไปและเป็นเพียงความเชื่อในตำนานเท่านั้น เมื่อท่านได้เล็งเห็นเหตุดังนี้แล้วท่านจึงได้เริ่มรวบรวมผ้ายันต์จากแหล่งต่างๆทั้งในพะเยาและจังหวัดต่างๆในภาคเหนือมาเก็บรักษาไว้ที่วัดสบเกี๋ยง จากนั้นท่านยังได้นำกุฏิมาทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงผ้ายันต์แบบต่างๆอักขระแบบต่างๆของชาวล้านนาให้คงอยู่สืบต่อไปให้เด็กรุ่นหลังได้เรียนรู้ความเชื่อเหล่านี้ ซึ่งในปัจจุบันที่พิพิธภัณฑ์เมืองขุนควร ภายในวัดสบเกี๋ยงแห่งนี้มีผ้ายันต์เสื้อยันต์เก็บรักษาไว้มากกว่า 200 ผืน มียันต์มากมายหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น ยันต์คงกระพัน ยันป้องกันภัย ยันต์แคล้วคลาด ยันต์มหาอำนาจ ยันต์เมตตามหานิยม ยันต์ฝ่าต๊ะ และภายในวัดยังรวมรวมพระพุทธรูปเก่า ของขลัง ตะกรุดล้านนา คัมภีร์ต่างๆของล้านนาที่เขียนด้วยตัวอักษรของคนล้านนา ซึ่งหากมีผู้สนใจสามารถเดินทางไปเยี่ยมชมได้ที่ วัดธรรมิการาม หรือ วัดสบเกี๋ยง อำเภอปง จังหวัดพะเยา
สรุป
นับได้ว่าตำนานความเชื่อในเรื่องของยันต์ต่างๆที่ถูกเขียนด้วยอักขระล้านนานั้นไม่ได้เป็นเพียงตำนานที่หมดลมหายใจหรือสูญหายไปแล้ว แต่ยังมีผู้สานต่อตำนานความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ของยันต์ล้านนาให้ชนรุ่นหลังได้ทราบประวัติเรื่องราวและ เรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ของชนพื้นเมืองล้านนากับสืบต่อไป
นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวที่เกี่ยว โชคลาภ ให้ท่านได้อ่าน