เทศกาลผีตาโขน ตำนานซ่อนอยู่หลังหน้ากาก

เทศกาลผีตาโขน ตำนานซ่อนอยู่หลังหน้ากาก

ถ้าพูดถึงเทศกาลผีตาโขน เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินและรู้จักกันอย่างมาก เพราะเทศกาลนี้เป็นประเพณีที่โด่งดังมากของภาคอีสาน โดยพิธีนี้จะมีการออกมาแต่งตัวเป็นผีที่มีลักษณะหน้าใหญ่ แต่มีสีสันที่ค่อนข้างสดใสและทำการเดินขบวนแห่ไปรอบๆหมู่บ้านเพื่อทำพิธีตามความเชื่อ และทำบุญใหญ่นั่นเอง ซึ่งความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้มีมานานมากจากอดีตจนยึดถือมาถึงปัจจุบัน และในบทความนี้จะมาพูดถึงที่มาประวัติ และความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีผีตาโขนให้ผู้อ่านได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับประเพณีมากขึ้นนั่นเอง

เว็บอัพเดทข่าวสารที่เกี่ยวกับโชคลาภที่ดีที่สุดสำหรับคุณ นงน้อย.com

ประเพณีแห่ผีตาโขน

ประเพณีแห่ผีตาโขนจัดเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่หรือที่เรียกว่า งานบุญหลวง หรือ บุญผะเหวด ซึ่งตรงกับเดือน 7  งานประเพณีบุญหลวง และการละเล่นผีตาโขน เป็นงานประจำของชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งจะจัดขึ้นหลังวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ที่ถนนหลายสายของอำเภอด่านซ้าย รวมถึงที่อื่นในจังหวัดเลย โดยจะเป็นงานที่มีบรรยากาศของความสนุกสนานรื่นเริง และมีชื่อเสียงอย่างมากในประเทศไทย การละเล่นผีตาโขนเป็นงานประเพณีที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าจัดขึ้นตั้งแต่ยุคใด ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ได้ ปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ จึงทำให้เทศกาลผีตาโขนเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดเลย จุดหมายในประเพณีนี้เพื่อเป็นการบูชาอารักษ์หลักเมือง และพิธีการบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง และตามความเชื่อได้บอกไว้ว่าสำหรับคนที่เล่นหรือมีการแต่ตัวเป็น ผีตาโขน ต้องถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนออกให้หมด และนำไปทิ้งในแม่น้ำ ห้ามนำเข้าบ้านเพราะเป็นเหมือนการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไปด้วย

เทศกาลผีตาโขน ตำนานซ่อนอยู่หลังหน้ากาก - ล็อตโต้สด59

ที่มาต้นกำเนิดผีตาโขน

ต้นกำเนิดผีตาโขน เดิมทีมีชื่อเรียกว่า ผีตามคน เป็นเทศกาลที่ได้อิทธิพลมาจาก มหาเวสสันดรชาดก ชาดกในพระพุทธศาสนา มีตำนานว่า เมื่อครั้งพระเวสสันดร และนางมัทรี จะเดินออกจากป่ากลับเข้าสู่เมือง มีผีป่าและสัตว์ต่างๆ ที่รักพระเวสสันดรและนางมัทรี พากันแฝงตนมากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับสู่เมืองด้วยความอาลัย และด้วยชาวบ้านที่เห็นพวกผีที่ตามมาก็รู้สึกหวาดกลัวทางพระเวสสันดร จึงใช่คาถาทำให้ภูตผีเหล่านั้น มีสีสันที่สดใสและไม่น่ากลัวทำให้ชาวบ้านไม่รู้สึกหวาดกลัว และตอนที่เหล่าภูตผีออกจากหมู่บ้านก็ได้นำพาสิ่งไม่ดีออกไปจากหมู่บ้านด้วย และนี้ก็กลายเป็นที่มาของ เทศกาล ผีตาโขนมาจนถึงปัจจุบัน โดยในขบวนแห่ผีตาโขน ผู้ที่แต่งกายเป็นผีจะต้องสวมหน้ากากที่ทำจากหวดข้าวเหนียว แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสดใส และออกร่วมเดินขบวนไปกับขบวนแห่งานบุญหลวงด้วยในทุกปีนั่นเอง

เทศกาลผีตาโขน ตำนานซ่อนอยู่หลังหน้ากาก - ล็อตโต้สด59

ปู่เยอ-ย่ายอ ตำนานผีตาโขน

นอกจากนี้ยังมีตำนานที่กล่าวถึง บรรพบุรุษต้นกำเนิดผีตาโขน คือ ปู่เยอ – ย่าเยอ ตำนานเล่าว่า 

เมือแถน มีเครือเขากาดยักษ์เครือหนึ่ง โตขึ้นไปถึงสวรรค์ชั้นฟ้าปกคลุมลงมาบนพื้นดินทำให้บังแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ บ้านเมืองมืดมิดและหนาวเย็น ประชาชนเดือดร้อนทำมาหากินไม่ได้ วันหนึ่งมีผู้เฒ่าสองผัวเมีย ชื่อปู่เยอ-ย่าเยอ มาขออาสาตัดเครือเขากาดยักษ์นี้ พระยาขุนบูลมจึงถามว่า “หากสามารถตัดเครือเขากาดยักษ์ได้ต้องการอะไรเป็นรางวัล”  เฒ่าทั้งสองตอบว่าไม่ขอรับของรางวัลใดๆทั้งนั้น ขอเพียงหากทั้งสองตายขอให้ทุกคนอย่าลืมชื่อของทั้งสอง และขอให้เคารพสักการบูชาด้วย ทางพระยาขุนบูลมจึงรับปาก จากนั้นเฒ่าทั้งสองจึงถือขวานใหญ่มุ่งหน้าเดินทางไปยังโคนต้นเครือเขากาดยักษ์ทันที และลงมือตัดทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นเวลา 3 เดือนกับ 3 วัน จึงสามารถตัดเครือเขากาดยักษ์นั้นลงได้ แต่เครือเขากาดยักษ์มีขนาดใหญ่มาก เมื่อขาดแล้วจึงได้ล้มลงมาทับเฒ่าทั้งสองคนเสียชีวิตทันที และบรรยากาศที่มืดมิดก็เปลี่ยนเป็นสว่างส่องมายังเมืองทันที ทำให้พระยาขุนบูลมและชาวเมืองซาบซึ้งในความดีของเฒ่าทั้งสองคนมาก จึงได้ทำการตั้งศาลไว้เพื่อเป็นที่เคารพสักการะเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของปู่เยอและย่าเยอนั่นเอง

 

สรุป 

เทศกาล ผีตาโขนเป็นประเพณีของคนภาคอีสานจังหวัดเลย ซึ่งจะมีการจัดพิธีตามความเชื่อนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการบวงสรวงบูชาดวงวิญญาณบรรพชนที่เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งจะกลายมาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองบ้านเมือง และดลบันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ หรือความหายนะก็ได้ ดังนั้นเพื่อให้ดวงวิญญาณบรรพชนพอใจ จึงมีการจัดให้มีการละเล่นผีตาโขนขึ้นมานั่นเอง และกลายมาเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดสืบมา

ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ ตำนาน ความเชื่อ และโชคลาภอีกมากมาย ท่านสามารถติดตามที่จากเว็บนี้