"เฒ่าจ้ำ" คืออะไร ในพิธีกรรม และความเชื่อของคนอีสาน

เฒ่าจ้ำ” คืออะไร ในพิธีกรรม และความเชื่อของคนอีสาน

เฒ่าจ้ำ อาจจะเป็นคำที่ไม่คุ้นหูคนในปัจจุบันหรือคนภาคอื่นๆมากนัก เนื่องจากเป็นความเชื่อของคนอีสาน ที่มีมาช้านาน ทุกวันนี้ผู้คนอาจจะหลงลืมกันไปบ้าง วันนี้เราไปดูกันว่า เฒ่าจ้ำ คืออะไร มีส่วนเกี่ยวข้องยังไงกับการทำพิธีกรรมต่างๆของคนอีสาน บทความนี้มีคำตอบ

อัพเดทเว็บข่าวสารที่เกี่ยวกับโชคลาภที่ดีที่สุดสำหรับคุณ นงน้อย.com

เฒ่าจ้ำ คืออะไร

ตามความเชื่อของคนอีสาน เฒ่าจ้ำ บางพื้นที่อาจเรียกว่า กระจ้ำ ขะจ้ำ หรือข้าวเจ้า คือตัวกลางการสื่อสารระหว่างคนกับผี ในที่นี้จะเป็นผีเจ้าที่ ผีปู่ตา ผีบรรพบุรุษ หรือผีที่คนให้ความนับถือ เป็นตัวแทนในการสื่อสารสิ่งที่ชาวบ้านร้องขอต่อผีปู่ตา และรับสารจากผีปู่ตามาให้ชาวบ้าน และทำ ต่างๆเกี่ยวกับการบูชาผีปู่ตา ผีบ้านผีเรือน นอกจากนั้นยังเฒ่าจ้ำยังต้องคอยดูแลปกป้อง บริเวณป่าในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ สัตว์ และทรัพยากรต่างๆมี่อยู่บริเวณดงปู่ตา ให้อยู่ในสภาพปกติ เนื่องจากสิ่งเหล่านั้นคือสมบัติของผีปู่ตา หากผู้ใดต้องการใช้สอยภายในพื้นที่ เช่น หาแมลง หาเห็ด เก็บผัก เก็บฟืน หรือสมุนไพร ต้องขออนุญาตเจ้าที่โดยจะขอผ่านเฒ่าจ้ำก่อนเสมอ หากใครฝ่าฝืนอาจจะเกิดสิ่งไม่ดี หรือมีภัยถึงแก่ชีวิตได้

"เฒ่าจ้ำ" คืออะไร ในพิธีกรรม และความเชื่อของคนอีสาน - ล็อตโต้สด59

คุณสมบัติของเฒ่าจ้ำ

คนจะเป็นเฒ่าจ้ำได้ จะต้องเป็นที่อยู่ในศีลธรรม ปฏิบัติตนดี เป็นที่น่าเคารพนับถือของคนในหมู่บ้าน 

 และเมื่อเฒ่าจ้ำคนเก่าถึงแก่กรรม จะต้องหาคนใหม่มาทำหน้าที่แทน บางหมู่บ้านอาจเลือกจะเลือกคนในตระกูลเดียวกันกับเฒ่าจ้ำคนเก่าที่ได้มีการสืบทอดกันไว้ บางหมู่บ้านต้องเลือกตัวแทนที่มีความประพฤติดี มา 5 – 10 คน หากคนในหมู่บ้านเลือกกันเองไม่ได้ จะให้ตัวแทนที่ถูกเลือกนำไม้ไผ่มาโดยให้มีความยาวเท่ากับวาของแต่ละคน แล้วนำไปวัดกันที่ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน จะมีผู้อาวุธโสและชาวบ้านเป็นสักขีพยาน หากวัดไม้ไผ่ของตัวแทนคนใดยาวเกินวา แสดงว่าเป็นผู้ที่ผีปู่ตาท่านได้เลือกให้เป็นเฒ่าจ้ำคนต่อไปนั่นเอง

 

เฒ่าจ้ำและร่างทรง แตกต่างกันอย่างไร

เฒ่าจ้ำนั้นเป็นเพียงตัวกลางในการสื่อสารกับผีปู่ตา ผีบ้านผีเรือน ที่ผู้คนในหมู่บ้านให้ความนับถือ และเป็นคนที่มีความขาวสะอาด น่าเลื่อมใส อยู่ในศิลธรรม

เฒ่าจ้ำจะเป็นตัวกลางช่วยนำคำขอของชาวบ้าน เช่น ขอให้ลูกของตนสอบติด ขอให้หมู่บ้านมีแต่ความสุข เป็นต้น แต่หากกล่าวถึงร่างทรง คนอีสานเชื่อว่าเป็นการนำผีให้เข้ามาสิงในตัวของร่างทรง ซึ่งอาจจะเป็นทั้งผีดีหรือผีร้ายก็ได้ บางครั้งชาวบ้านบางคนอาจจะขอให้วิญญาณของลูกหลาน หรือญาติที่เสียโดยโดยไม่ทันได้ร่ำลา มาเข้าสิงในร่างทรง เพื่อจะให้วิญาณนั้นของสิ่งที่อยากได้ แล้วจะทำบุญไปให้ หรืออาจจะขอให้ผีเข้าสิงร่างทรง เพื่อขอให้ตามหาของที่หายไปให้ เมื่อมองดูแล้วร่างทรงจะมีความขุ่นมัวไปทางดำ มากกว่าเฒ่าจ้ำ เพราะเหตุนี้จึงทำให้เฒ่าจ้ำและร่างทรงมีความแตกต่างกัน

 

เฒ่าจ้ำ กับความเชื่อของคนในปัจจุบัน

ในปัจจุบันนี้ ความเชื่อเรื่องเฒ่าจ้ำนั้นอาจจะน้อยลงไปมาก เนื่องจากบางหมู่บ้านก็ทำพิธีขอพรจากศาลปู่ตาด้วยตนเอง แต่ก็ยังมีบางหมู่ที่ยังมีเฒ่าจ้ำที่ช่วยเป็นสื่อการในการสื่อสารอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพิธีเลี้ยงผีขึ้นลง ก็ต้องใช้เฒ่าจ้ำในการทำพิธี พิธีเลี้ยงผีขึ้นคือ การเลี้ยงอาหารให้ผีก่อนที่จะมีการเพาะปลูกข้าวหรือก่อนทำการเกษตร ขอให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ พิธีเลี้ยงผีลงคือการเลี้ยงผีในช่วยที่เก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว เป็นการเลี้ยงขอบคุณที่ช่วยดูแลไร่นา พิธีโดยทั่วไปจะทำคล้ายๆกับการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ พอเสร็จพิธีเลี้ยงผีแล้ว ชาวบ้านจะนำอาหารบางส่วนมาแจกจ่ายกัน เป็นการแสดงถึงความรักความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน

 

สรุป

 เฒ่าจ้ำ ตามความเชื่อของคนอีสานนั้น มีความแตกต่างจากร่างทรงเป็นอย่างมาก เพราะเฒ่าจ้ำ ต้องมีความน่าเชื่อถือ ปฏิบัติตนดี ถึงจะสามารถสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ ถือได้ว่าเป็นตัวกลางที่ทำให้คนในหมู่บ้านอยู่อย่างสงบสุข ถึงในปัจจุบันอาจจะเลื่อนหายไปตามยุคสมัย แต่คนเฒ่าคนแก่ในปัจจุบันก็ยังให้ความเคารพนับถือ

ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ ตำนาน ความเชื่อ และโชคลาภอีกมากมาย ท่านสามารถติดตามที่จากเว็บนี้