เจี๊ยะฉ่าย เทศกาลถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต

เจี๊ยะฉ่าย เทศกาลถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต

เจี๊ยะฉ่าย เทศกาลถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต ถ้าหากจะกล่าวถึงเทศกาล มาสักหนึ่งเทศกาลของทางภาคใต้ที่สำคัญๆเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่มีชื่อของ เทศกาลถือศีลกินผัก หรือเทศกาลเจี๊ยะฉ่ายของจังหวัดภูเก็ต ที่ในอดีตนั้นทุกปี (ก่อนที่จะมีโควิดระบาด) จะมีภาพของม้าทรงที่เอาเหล็กแหลมแทงปากปรากฏอยู่ทุกๆปีตามสื่อต่างๆแล้วเจี๊ยะฉ่ายใจความสำคัญของเทศกาลนี้คืออะไรมาร่วมกันหาคำตอบในบทความ

เว็บอัพเดทข่าวสารที่เกี่ยวกับโชคลาภที่ดีที่สุดสำหรับคุณ นงน้อย.com

ประวัติประเพณีเจี๊ยะฉ่าย จังหวัดภูเก็ต

ประเพณีเจี๊ยะฉ่าย หรือ ประเพณีการถือศีลกินผักของจังหวัดภูเก็ตที่เรารู้จักกันนั้น มีที่มาจากลัทธิเต๋าซึ่งบูชาเทพเทวดา เทพเจ้า หรือ วีรบุรุษ มาช้านาน โดยจะประกอบพิธีในวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ ตามปฏิทินจีนของปีนั้นๆ ประเพณีกินผักเริ่มครั้งแรกที่หมู่บ้านไล่ทู  ในทู หรือ บ้านกะทู้ ตำบลกะทู้ จังหวัดภูเก็ตโดยคนจีนเหล่านี้แต่เดิมเริ่มมีการอพยพเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีอาชีพในการทำดีบุก และคนจีนในสมัยก่อนก็นำพาความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าประจำตระกูล หรือ เทพเจ้าประจำหมู่บ้านมาเผยแพร่ โดยเชื่อว่าถ้าหากเกิดเหตุใดๆต้องไหว้และอัญเชิญเทพเหล่านั้นเพื่อมาปกปักรักษาดูแลตน และในเวลาต่อมาได้มีคณะงิ้ว จากเมืองจีนเข้ามาแสดงในหมู่บ้าน คณะงิ้วได้ปักหลักแสดงทั้งปีเนื่องจาก เศรษฐกิจของชาวบ้านในพื้นที่นั้นดีมาก จึงสามารถจ้างคณะงิ้วให้ทำการแสดงได้เรื่อย จนมีอยู่ช่วงหนึ่ง คณะงิ้วนั้นได้เกิดล้มป่วย จนทำให้คณะงิ้วเหล่านี้คิดขึ้นได้ว่าตนไม่ได้ประกอบพิธี เจี๊ยะฉ่าย หรือประเพณีกินผักที่ตนเคยปฏิบัติกันมาตลอดตั้งแต่ครั้งยังอยู่เมืองจีน ชาวคณะงิ้วจึงตกลงกันที่จะจัดพิธีเจี๊ยะฉ่ายขึ้นที่โรงงิ้วนั่นเองเพื่อขอขมาลาโทษแก่เทพเจ้าที่พวกตนนับถือ และ ขอเทพเจ้าให้ช่วยมาปกปักรักษา หลังจากประกอบพิธีแล้ว อาการเจ็บป่วยนั้นลดลง ไม่ใช่เพียงแต่ชาวคณะงิ้ว แต่ ยังรวมไปถึงชาวบ้านอีกด้วยทำให้ประเพณีนี้เริ่มเกิดความแพร่หลายมากขึ้นจนครอบคลุมทั่วเกาะภูเก็ต และ จังหวัดใกล้เคียงมาจนถึงปัจจุบัน

เจี๊ยะฉ่าย เทศกาลถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต

พิธีกรรมก่อนเริ่ม เทศกาลถือศีลกินผัก

  1. พิธีชำระล้าง ก่อนที่จะทำพิธีกรรมเกี่ยวกับเทพเทวดานั้นต้องทำความสะอาด บริเวณโรงครัว ให้สะอาดไม่มีเศษเนื้อสัตว์และของเน่าเหม็นเจือปนก่อน 
  2. พิธียกเสาโก้เต้ง ก่อนจะเริ่มพิธีนั้นจะมีเด็กตีฆ้องจีน หรือที่เรียกว่า โหล เดินตีฆ้องร้องบอกให้ประชาชนชาวบ้านต่างๆไปช่วยกันขึ้นเสาเทวดาและกิ่วอ๋องต่ายเต เมื่อประชาชนทราบข่าวก็จะรีบเดินทางไปยังศาลเจ้าเพื่อช่วยกันดึงเชือกและใช้ไม้ค้ำยันเสาจนเสร็จแล้วนำตะเกียงทั้งหมด 9 ดวงเตรียมไว้สำหรับดึงขึ้นยอดเสา
  3. พิธีโก้ยเช่งเหี้ยว ผู้นำพิธีหรือ เลอไท(ฮวดกั้ว) จะนำหม้อไฟไม้หอม หรือ หม้อไฟเครื่องหอมรมควันให้ทั่วภายในโรงครัวศาลเจ้า บริเวณที่พักม้าทรง และตามบริเวณต่างๆของศาลเจ้าแล้วจึงนำหม้อเครื่องหอมนั้นไปวางไว้บนโต๊ะที่จะทำพิธีเชิญเทวดามาเป็นประธานและเชิญ พระราชาธิราชทั้ง 9 พระองค์ซึ่งได้จัดเตรียมไว้ก่อนหน้านี้ที่ศาลเจ้า
  4. พิธียกอ๋องส่งเต่ เมื่อถึงเที่ยงคืน ของคืนขึ้น 1 ค่ำตามปฏิทินจีนแล้วนั้น เลอไท(ฮวดกั้ว) และคณะจะทำพิธีไหว้บอกกล่าวเทพเจ้าที่ประทับอยู่ในศาลเจ้าให้ทราบ จากนั้นจะทำพิธีอัญเชิญ เทวดายกอ๋องส่งเต่มาเป็นประธานในพิธีโดยการเสี่ยงทาย(ปั๊วะโป้ย)เมือทำพิธีอัญเชิญประธานแล้วจากนั้นจะอัญเชิญหม้อไฟไม้หอม กระถางธูป และ ชื่อเทวดาขึ้นบนแท่นบูชาซึ่งจัดเตรียมไว้
  5. พิธีเชิญกิ้วอ๋องต่ายเต่ หรือ พระราชาธิราชทั้ง 9 องค์ หลังจากเชิญประธานแล้ว ฮวดกั้วและคณะจะเชิบราชาธิราชทั้ง 9 องค์ โดยวิธีการเสี่ยงทายเช่นเดียวกัน หลังจากนั้นจะนำกระถางธูปเข้าไปประดิษฐานชั้นใน พร้อมกับเจ้าหน้าที่ทั้งหมดในศาลเจ้าจะพร้อมใจกันสวดมนต์ (ส่งเก้ง) ดึงตะเกียงทั้ง 9 ขึ้นสู่ยอดเสา เป็นการประกาศว่าประเพณีถือศีลกินผักได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

เจี๊ยะฉ่าย เทศกาลถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต

พิธีกรรมช่วงเทศกาล ถือศีลกินผัก  

  1. เก้าโง๊ยโช่ยอี๊ด เป็นวันแรกของการเริ่มเทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ต จะมีผู้คนเดินทางมารับอาหารจากศาลเจ้าเป็นจำนวนมาก และ ก่อนจะกินข้าวนั้นต้องจุดเครื่องหอมก่อนทุกครั้ง 
  2. เก้าโง่ยโช่ยส้า การกินเจเข้าสู่วันที่ 3 วันนี้นั้นจะมีการเชิญเทพเข้าประทับม้าทรงจากนั้นจะทำการลงหลักปักเขตรอบๆศาลเจ้าตามทิศต่างๆด้วยยันต์ไม้ไผ่
  3. พิธีเชิญล่ำเต้าปักเต้า พิธีนี้จะมีเจ้าหน้าที่จะนำรายชื่อผู้ที่มาร่วมทำบุญมาทำการเสี่ยงทายต่อหน้าของ ยกอ๋องส่งเต่ เพื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกนั้นจะได้รับหน้าที่อันทรงเกียรติและช่วยงานศาลเจ้าในปีต่อไป
  4. พิธีโก้ยชิดแฉ้ เป็นพิธีบูชาเทพนพเคราะห์ พิธีนี้ทางเจ้าหน้าที่ศาลเจ้าจะปลูกปะรำพิธี และให้เทพผู้ใหญ่ทำพิธีบวงสรวงเทวดาและเทพนพเคราะห์ ในพิธีจะมีการสวดมนต์และอ่านรายชื่อผู้ที่เข้าร่วมประเพณีกินผัก จากนั้นจะทำการโปรยผ้ายันต์และแผ่นกระดาษยันต์ให้แก่ผู้ร่วมพิธี
  5. พิธีเชี้ยเหี้ยวโห้ย เป็นการจัดขบวนแห่ไปรอบๆ และเคลื่อนไปยังสะพานหินเพื่อทำพิธีเสี่ยงทาง แล้วอัญเชิญกลับศาลเจ้าดังเดิม
  6. พิธีโก้ยโห้ย และ พิธีโก้ยห่าน สองพิธีนี้จะทำต่อกัน โดยม้าทรงจะทำการลุยไฟเพื่อสะเดาะเคราะห์ ส่วนโก้ยห่านก็เป็นการสะเดาะเคราะห์แบบไม่ลุยไฟ 
  7. พิธีส่งเทพ เมื่อวันสุดท้ายมาถึงจะมีพิธีส่งเพทเจ้าต่างๆกลับสวรรค์และนำเสาลงเป็นอันสิ้นสุด ประเพณีเจี๊ยะฉ่าย

 

สรุป  

ประเพณีเจี๊ยะฉ่าย หรือเทศกาล ถือศีลกินผัก ของชาวภูเก็ตนั้น ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน จนเป็นวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าทางด้านจิตใจและลดการฆ่าสัตว์ในทุกๆปีอีกด้วย

ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ ตำนาน ความเชื่อ และโชคลาภอีกมากมาย ท่านสามารถติดตามที่จากเว็บนี้