หลวงพ่อเหลือวัดสาวชะโงก จังหวัดฉะเชิงเทรา
หลวงพ่อเหลือวัดสาวชะโงก จังหวัดฉะเชิงเทรา หากจะกล่าวถึงเครื่องรางของขลังที่เกี่ยวกับการทำมาค้าขายแล้ว ทุกคนต้องนึกถึงปลัดขลิก ในภาคตะวันออกถ้าจะถามหาปลัดขลิกของใครดี ต้องมีคนกล่าวถึงหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ และ ของพระเกจิอีกรูปหนึ่งที่มีดีไม่แพ้กัน นั่นคือ หลวงพ่อเหลือวัดสาวชะโงก จังหวัดฉะเชิงเทรา
เว็บอัพเดทข่าวสารที่เกี่ยวกับโชคลาภที่ดีที่สุดสำหรับคุณ นงน้อย.com
ประวัติวัดสาวชะโงก โดยสังเขป
วัดสาวชะโงก เป็นวัดราษฎ์รที่สังกัดคณะสงเถรวาท ฝ่ายมหานิกาย วัดสาวชะโงกตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง ในเขตตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา วัดสาวชะโงกก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2356 โดยมีผู้ที่ก่อตั้งวัดขึ้นมาคือนายนุชและนางยังซึ่งเป็นชาวบ้านบริเวรคลองสองพี่น้อง อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยทั้งสองได้อุทิศที่ดินของตนประมาณ 6 ไร่เพื่อก่อสร้างวัด เหตุที่มีชื่อว่าวัดสาวชะโงกนั้นเกิดจากตำนานที่เล่าว่า ในสมัยอดีตผู้คนสัญจรกันทางเรือ และในวันหนึ่งมีการยกขันหมากเพื่อมาสู่ขอเจ้าสาวทางเรือ เมื่อขบวนใกล้มาถึงบ้านของฝ่ายหญิง เจ้าสาวก็ได้ชะโงกหน้าออกไปมองขบวนขันหมากจนพลัดตกจากเรือนเป็นเหตุให้เสียชีวิตต่อมาพ่อแม่ของฝ่ายหญิงจึงได้บริจาคที่ดินผืนนี้ให้สร้างวัด และให้ชื่อว่าวัดสาวชะโงกเพื่อรำลึกถึงลูกสาวของตน วักสาวชะโงกนั้นมีพระเกจิที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ พระครูนันทธีราจารย์ หรือ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
ประวัติหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
หลวงพ่อเหลือ นันทสาโร มีนามเดิมชื่อว่า นายเหลือ นามสกุลรุ่งสะอาด ลืมตาดูดลกเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 ณ ตำบลบางเล่า อำเภอ บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ท่านเป็นชาวแปดริ้วโดยกำเนิด ซึ่งบิดามีชื่อว่า นายรุ่ง มารดามีชื่อว่า นางเพชร นามสกุล รุ่งสะอาด ชีวิตในวัยเยาว์ท่านเป็นคนขยันขันแข็งชอบช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นช่วยบิดามารดา หรือ ญาติพี่น้องทำงาน ท่านก็ไม่เคยบ่น จนอายุถึงคราวบวชเข้าสู่บวรพระพุทธศาสนาในปี พ.ศ. 2428 ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ พระอาจารย์คง วัดใหม่บางคล้า พระอธิการขิก วัดสาวชะโงก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โต วัดสาวชะโงก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อท่านบวชเป็นพระแล้วท่านได้ศึกษาอักษรขอม และ บาลี รวมไปถึงการฝึกกรรมฐาน จากพระอธิการขิก ซึ่งเป็นผู้มีวิทยาคมแตกฉานเมื่อเรียนจากพระอธิการขิกจนหมดแล้วท่านจึงไปเรียนต่อ จากพระเกจิอีกหลายรูปเช่น หลวงพ่อดำ วัดกุฎี จังหวัดปราจีนบุรี หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จังหวัดกาญจนบุรี จนต่อมาในปี พุทธศักราช 2461 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าอาวาสวัดสาวชะโงก และในปี พุทธศักราช 2474 ท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสาวชะโงก ท่านเป็นพระเกจิ ที่มีคุณวิเศษเป็นที่ประจักษ์และได้รับการนิมนต์ให้ไปปลุกเสกวัตถุมงคลงานใหญ่ๆเสมอ นอกจากนี้ในช่วงสงครามอินโดจีน ท่านก็ทำผ้ายันต์แดงแจกทหารในสงคราม แต่เครื่องรางของขลังและวัตถุมงคลที่เด่นๆของท่านคือ ปลัดขลิก
ปลัดขลิก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
ปลัดขลิกของหลวงพ่อเหลือนั้น ถูกจัดเป็น 1 ในเบญจภาคีเครื่องรางของขลังของเมืองไทย นั่นหมายความว่าปลัดขลิกของท่านเป็น 1 ไม่เป็น 2 รองใครแน่นอน ขึ้นชื่อลือชาว่าหากใครมีในครอบครองจะเป็นเมตตามหาเสน่ห์ แก่ตนจะทำการค้าการขายใดๆก็จะสำเร็จผล และยังขึ้นชื่อในเรื่องของความคงกระพันธ์ชาตรีอีกด้วย ใส่แล้วเหลือกินเหลือใช้ ดังชื่อของหลวงพ่อเหลือ ปลัดขลิกของท่านรอบตัวจะลง กันหะเนหะ อุมะอุมิ อิติกะริ อิติกะตา แต่ถ้าหากหาปลัดขลิกของหลวงพ่อเหลือมาใช้ได้นั้น ให้หาปลัดขลิกของหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบมาใช้แทนกันได้ แต่ในปัจจุบันอาจจะกล่าวได้ว่าไม่ว่าจะเป็นปลัดขลิกของหลวงพ่อเหลือ หรือ ปลัดขลิกของหลวงพ่ออี๋ ก็ไม่อาจจะหามาครอบครองได้เนื่องจากมีจำนวนน้อย และ มีคนต้องการมากทำให้มูลค่านั้นแพงกว่าทองคำและเพชร อีก ปลัดขลิกหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ เช่าหากันหลักแสน แต่ ปลัดขลิก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก เช่าหากันหลักล้าน
สรุป
แม้หลวงพ่อเหลือ จะมรณภาพไปนานแล้วนั้น แต่ยังสามารถเข้าไปกราบรูปเคารพของท่านได้ที่วัดสาวชะโงกจังหวัดฉะเชิงเทรา ไม่แน่ ท่านอาจจะถูกรางวัลที่ 1 ก็เป็นได้
ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ ตำนาน ความเชื่อ และโชคลาภอีกมากมาย ท่านสามารถติดตามที่จากเว็บนี้