ศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ คืออะไร มีไว้ทำไม?
ถ้าพูดถึงคำว่าบ้าน ไม่ว่าบ้านจะมีขนาดใหญ่โต หรือ ขนาดเล็ก แต่สิ่งที่เรามักคำนึงถึงคือความสงบร่มเย็นต่อการอยู่อาศัยภายในบ้านหลังนั้นๆ โดยในความเชื่อทางศาสนาพุทธนั้น บ้านหนึ่งหลังควรจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คอยป้องกันปกปักรักษา ผู้ที่อาศัยภายในบ้านจากสิ่งช่วยร้ายต่างๆ ซึ่งหมายถึง ศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ ประจำบ้าน ที่จะคอยรักษาความสงบภายในบ้าน เสริมสิริมงคล และเพิ่มบารมี โชคลาภ
ความเชื่อเรื่อง ศาลพระภูมิเจ้าที่
เว็บอัพเดทข่าวสารที่เกี่ยวกับโชคลาภที่ดีที่สุดสำหรับคุณ นงน้อย.com
ที่มาของศาลเจ้าที่และศาลพระภูมิ
1. ศาลเจ้าที่
เป็นศาลที่ตั้งขึ้นเพื่ออัญเชิญเจ้าที่เดิม ที่มีอยู่แล้ว ประจำอยู่ในพื้นที่นี้ก่อนเราจะเข้ามาอยู่อาศัย โดยเราอาจจะเป็นผู้เข้ามาอาศัยใหม่ หรือเป็นผู้ที่ซื้อที่มาใหม่
ก็ได้มีการสร้างศาลสำหรับเจ้าที่เดิมอยู่ เพื่อให้ท่านได้มาพักอาศัยและดูแลรักษาผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านหลังนี้บนที่ดินของท่านอยู่ และเพื่อผู้อาศัยได้ไหว้ศาลต่อไป
2. ศาลพระภูมิ
ศาลที่ไว้สำหรับพระชัยมงคล ซึ่งผู้ที่กราบไว้พระชัยมงคลนั้นจะนำมาถึงความหน้าที่การงาน การเรียน และการเงินต่างๆ จะไม่มีปัญหาและติดขัดในชีวิต
ทั้งนี้เพราะท่านเป็นเทพ ไม่ใช่วิญญาณทั่วไปที่ประจำในแต่ละพื้นที่และเวลาไหว้ศาลพระภูมิ ท่านจะอำนวยพรต่างๆเพื่อให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นศุกร์
ขั้นตอนการไหว้บูชา ศาลพระภูมิ และ ศาลเจ้าที่
- ของไหว้ศาลพระภูมิ
1.1 ของคาว ข้าวสุก แกงจืด เนื้อสัตว์ หมู ไก่ กุ้ง จัดวางอย่างสวยงาม
1.2 ของหวาน ของหวานไทย ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง นม มะพร้าวน้ำหอมอ่อน
1.3 ผลไม้มงคล กล้วย ส้ม แอปเปิล ลิ้นจี่ ทับทิม ลูกพลับ สาลี่
1.4 ใช้ธูป 9 ดอก จุดบูชาไหว้ศาลพระภูมิ บูชาผู้มีพระคุณ รุกขเทวดา เจ้าป่าเจ้าเขา
1.5 คาถาไหว้ศาลพระภูมิ
ภูมมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูมมา มหิทธิกา เตปิ ตุมเห อนุรัก ขันตุ อาโรค เยนะ สุเขนะจะ ( ท่อง 3 จบ )
- ของใช้ไหว้ศาลเจ้าที่มีอะไรบ้าง
2.1 ใช้ธูป 5 ดอก เทียน 2 เล่ม ดอกดาวเรือง 9 ดอก
2.2 น้ำชา 5 แก้ว ผ้าขาวบาง 1 ผืน
2.3 ผลไม้มงคล 9 ชนิด เช่น กล้วย ส้ม แอปเปิล ลิ้นจี่ ทับทิม ลูกพลับ สาลี่ เป็นต้น
2.4 หมากพลู 9 คำ
2.5 วันอังคารหรือวันเสาร์ เหมาะที่สุด ในเวลา 12.00 น.
2.6 คาถาไหว้ศาลเจ้าที่
อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโม พุทธายะ ปะฐะวี คงคา พระภุม มะเทวา ขะมามิหัง (ท่อง 3 จบ)
ขั้นตอนการตั้งศาล
ฤกษ์ควรตั้งศาล การดูฤกษ์ตั้งศาลพระภูมินั้น พราหมณ์หรือผู้ตั้งศาลจะดูฤกษ์ยาม และทิศทางตั้งศาล บนพื้นที่ของผู้อยู่อาศัย ดูทิศที่ควรหันหน้าศาล โดยฤกษ์ในการทำพิธียกศาล แบ่งเป็น 4 ฤกษ์ ได้แก่
- ภูมิปาโลฤกษ์ หรือ ฤกษ์พระภูมิผู้รักษาแผ่นดิน ฤกษ์ที่ 4, 13 และ 22
- เทวีฤกษ์ หรือ ฤกษ์นางพญา เสน่ห์นิยม ฤกษ์ที่ 6, 15 และ 24
- มหัทธโนฤกษ์ หรือ ฤกษ์คหบดีผู้มั่งคั่ง ฤกษ์ที่ 2, 11, 20
- ราชาฤกษ์ หรือ ฤกษ์ผู้ยิ่งใหญ่สูงส่ง ฤกษ์ที่ 8, 17 และ 26
ฤกษ์ห้ามตั้งศาล
- เดือน มกราคม – วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
- เดือน กุมภาพันธ์ – วันพุธ และวันศุกร์
- เดือน มีนาคม – วันอังคาร
- เดือน เมษายน – วันจันทร์
- เดือน พฤษภาคม – วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
6.เดือน มิถุนายน – วันพุธ และวันศุกร์
- เดือน กรกฎาคม – วันอังคาร
- เดือน สิงหาคม – วันจันทร์
- เดือน กันยายน – วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
- เดือน ตุลาคม – วันพุธ และวันศุกร์
- เดือน พฤศจิกายน – วันอังคาร
- เดือน ธันวาคม – วันจันทร์
สรุป
บางคนอาจสงสัยว่าทำไมยังต้องไหว้ศาลพระภูมิ ทั้งที่ไหว้ศาลเจ้าที่ก็น่าจะพอแล้ว ซึ่งจริงๆเป็นคนละส่วนกัน “ศาลพระภูมิ” มาจากการผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ด้าน ศาสนา พิธีกรรม และความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู นั้นถือเป็นพระภูมิเจ้าที่ หรือเทวดา ที่เราเชิญให้เข้ามาปกป้องพื้นที่นั้นๆ แต่ “เจ้าที่ในบ้าน” จะเป็นวิญญาณที่อยู่ในบ้านหรืออาคารหลังนั้นๆ อยู่แล้ว ไม่ได้ถูกเชิญมาจากที่ไหน ดังนั้นก็เหมือนกับการให้ความเคารพวิญญาณของบ้านที่เราอาศัยอยู่มาโดยตลอด ศาลพระภูมิจะมีความสูงกว่าและมีเสาเดียวขนาดใหญ่ ส่วนศาลเจ้าที่หรือศาลตา-ยายนั้น จะมีสี่เสาขนาดเล็กมีความสูงที่ต่ำกว่าศาลพระภูมิ และเมื่อเราหันหน้าเข้าหาศาล ศาลพระภูมิต้องอยู่ซ้ายมือและศาลเจ้าที่นั้นจะอยู่ขวามือ การไหว้เจ้าที่ในบ้านนั้นนอกจากจะได้บุญแล้ว ยังทำได้ไม่ยากอีกด้วย
ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆอีกมากมาย ท่านสามารถติดตามที่จากเว็บนี้