พญาจระเข้ยักษ์กับพญางูยักษ์ ตำนานสงครามรัก แห่งลุ่มแม่น้ำตาปี
ถ้าพูดถึงตำนานแห่งลุ่มแม่น้ำตาปีเชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้าง แต่บางคนก็อาจจะไม่เคยได้ยินเรื่องราวนี้เลย และในบทความนี้จะมาเล่าถึงตำนานพญาจระเข้ยักษ์และพญางูยักษ์ แห่งแม่น้ำตาปีทางภาคใต้ของประเทศไทย พญาจระเข้ยักษ์แล้วก็พญางูยักษ์ที่ว่านั้นก็คือ พญาท่าข้ามและพญายอดน้ำ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของผู้คนในแถบแม่น้ำตาปีนั่นเอง
นงน้อย.com เว็บอัพเดพข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องโชคลาภ
ตำนานแห่งลุ่มแม่นำตาปี
แม่น้ำตาปีแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในภาคใต้ของประเทศไทย มีตำนานเล่าขานถึงการต่อสู้อย่างดุเดือดระหว่างพญางูยักษ์กับพญาจระเข้ยักษ์ ที่ถูกเล่าขานสืบต่อกันมาเนิ่นนานว่าเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา หลังจากที่กองทัพทหารพม่าบุกเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยาจนแตกพ่าย และเผาผลาญทั้งเมืองจนสิ้น บรรดาแม่ทัพนายกองต่างพาไพร่พลของตนหลบหนีเอาชีวิตรอด เพื่อที่จะกลับมากอบกู้บ้านเมืองขึ้นใหม่อีกครั้งในภายภาคหน้า มีการซ่องสุมกำลังแบ่งแยกกันออกไปเป็นก๊กเป็นเหล่าหลากหลายกลุ่ม เช่นก๊กพญาฝาง ก๊กพระเจ้าตากเป็นต้น และหนึ่งในก๊กเหลานั้น มีนายทหารขุนพลท่านหนึ่งที่มีความเก่งกาจรอบด้าน ทั้งทางการรบและเวทมนตร์คาถา ขุนพลท่านนี้ได้พาไพร่พลของตนมาตั้งค่ายพำนักอยู่ที่บริเวณรอบเดินสูง ของเมืองท่าข้ามหรือบริเวณควนพุนพินในปัจจุบัน ไพร่พลที่อพยพมามากมายต่างพากันตั้งหลักแหล่ง รวบรวมเสบียงอาหารโดยการทำไร่ทำนาเกิดเป็นชุมชนเล็กๆขึ้นมา และเรียกพื้นที่พำนักด้านล่างติดกับเนินสูงนี้ว่านาศรีสงคราม โดยมีขุนศึกท่านนี้เป็นผู้ปกครองเพราะก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะแตกนขุนพลท่านนี้เคยดำรงตำแหน่งเป็นถึงพญา เมื่อท่านมาอยู่ที่ท่าข้ามจึงถูกเรียกว่าพญาท่าข้ามนั่นเอง
พญาท่าข้าม
เป็นผู้ที่มีฝีมือทางด้านยุทธพิชัยการรบ และเวทมนตร์คาถาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะวิชาแปลงกายเป็นเสือหรือจระเข้ บ่อยครั้งที่พญาท่าข้ามจะใช้วิชาแปลงร่างเป็นจระเข้เพื่อลงไปอาศัยอยู่ในถ้ำใต้แม่น้ำตาปี บริเวณศาลพญาท่าข้ามริมทางรถไฟในปัจจุบัน ซึ่งเชื่อกันว่าตรงนั้นจะมีถ้ำใต้น้ำยาวกว่า 10 กิโลเมตร ซ่อนอยู่พญาท่าข้ามเปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของชุมชน ท่านใดสร้างเครื่องรางของขลังเป็นพระเนื้อดินเผาโดยเฉพาะพระยอดขุนพล เพื่อแจกจ่ายบำรุงขวัญกำลังใจให้กับไพร่พลในยามรบและด้วยความที่พญาผู้นี้ จะต้องพลัดพรากจากภรรยา พญาท่าข้ามจึงมักจะแปลงร่างเป็นจระเข้ออกไปท่องเที่ยวตามสายน้ำแล้วก็มักจะได้หญิงงามมาเป็นภรรยาอยู่เสมอ
ภรรยาของพญาท่าข้าม
โดยภรรยาคนแรกของพญาท่าข้าม มีชื่อว่าแม่ยายถินหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหลาแม่ยายซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ ของชาวท่าข้ามมาช้านานเช่นกัน และในปัจจุบันนี้ก็มีสถานที่ตั้งบูชารูปปั้นแม่ยายถินอยู่ถึง 2 แห่ง โดยแห่งแรกตั้งอยู่ที่ริมถนนตาปีเจริญ ทางไปวัดท่าข้าม ส่วนแห่งที่ 2 จะตั้งอยู่ในวัดดอนกระถิน แม้ว่าพญาท่าข้ามจะได้แม่ยายถินมาเป็นภรรยาแล้วก็ตาม พญาท่าข้ามก็ยังคงได้ภรรยาเพิ่มมาอีกหลายคนไม่ว่าจะ เป็นแม่ยายเกาะเหนอ ซึ่งเป็นชาวเกาะเหนอเนอะ แม่ยายบางบานชาวตำบลท่าโรงช้าง แม่ยายบ้านนาชาวตำบลน้ำนิ่ง อำเภอบ้านนาเดิม แม่ยายระนอง แม่ยายถลาง ชาวจังหวัดภูเก็ต แม่ยายม่วงเอน ชาวอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช แม้พญาท่าข้ามจะมีภรรยามากมาย แต่ก็ไม่เคยมีปัญหาอะไรมากวนใจ หรือทำให้ใครต้องเดือดร้อนเลย จนกระทั่งวันหนึ่ง พญาท่าข้ามจำแลงกลายเป็นจระเข้ออกไปเที่ยวตามลำน้ำ และได้พบกับหญิงงามที่มีนามว่าแม่ศรีขวัญทอง หรือแม่ศรีวรรณทอง ซึ่งความจริงแล้วเธอเป็นพญาจระเข้เจ้าที่ ณ เว้ยวนตรงปากคลองอีปันต่อกับแม่น้ำหลวงหรือแม่น้ำตาปีในปัจจุบัน และยังเป็นภรรยาของพญา งูยักษ์ที่มีนามว่าพญายายอดน้ำนั่นเอง
พญายอดน้ำ
พญายอดน้ำเป็นงูเทวดาที่จำศีลอยู่เหนือขุนเขาพนม ที่สูงเสียดฟ้าปกคลุมด้วยหมอกขาวโพลน เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำน้อยใหญ่ในแถบนี้ พญายอดน้ำเป็นเทวดาที่มีฤทธิ์มากสามารถดลบันดาลให้เกิดสิ่งเหนือธรรมชาติต่างได้ แปลงร่างเป็นคนได้แล้วก็ชอบเที่ยวล่องไปตามคลองอิปัน ผ่านบางสวรรค์ไปจนถึงอำเภอปลายพระยา ซึ่งท่านมีหน้าที่พิทักษ์ขุนเขา และก็ต้นน้ำลำธารทั้งพญาท่าข้ามและพญายอดน้ำ ต่างเป็นผู้มีฤทธิ์มากและเป็นที่เคารพของชาวบ้านทั้งคู่ด้วยความที่แม่สีวันทองนั้น เป็นนางพญาจระเข้ที่มีความงดงามมาก มีผิวพรรณเปล่งปลั่งประดุจดั่งทองจึงเป็นที่ต้องตาต้องใจของชายหนุ่มที่ได้พบเห็น เมื่อพญาท่าข้ามมาเห็นแม่ศรีวรรณทองก็เกิดหลงใหลขึ้นทันที พญาท่าข้ามจึงเข้าไปเกี้ยวพาราสีพยายามที่จะเอาแม่ศรีวรรณทองมาเป็นเมียให้ได้ และในขณะนั้น พญายอดน้ำก็ได้มาหาแม่ศรีวรรณทองเหมือนอย่างที่เคยมาหาเป็นประจำ แต่เมื่อมาถึงกลับพบว่า มีพญาจระเข้หนุ่มกำลังคลอเคลียหญิงที่ตนรักอยู่ พญา งูยักษ์จึงพุ่งเข้าห้ำหั่นกับพญาจระเข้ยักษ์นั่นเอง
การต่อสู้ระหว่างพญาจระเข้ยักษ์และพญา งูยักษ์
เมื่อครั้งที่ทั้งสองพญาต่อสู้ พญายอดน้ำในร่างงูยักษ์กับพญาท่าข้ามในร่างจระเข้ยักษ์ต่อสู้ห้ำหั่นกันอย่างดุเดือด เกิดคลื่นน้ำกระแทกสองฝั่งแม่น้ำอย่างรุนแรงการต่อสู้นี้ กินเวลานานหลายวันหลายคืน จนน้ำในคลองขุ่นข้นกลายเป็นสีแดงฉาน เนื่องจากเต็มไปด้วยเลือด ของทั้งสองฝ่ายแม่น้ำที่แดงฉาน และเต็มไปด้วยเลือด ไหลทะลักปกคลุมไปทั่วบริเวณโดยรอบจน พื้นดินกลายเป็นสีแดงชาวบ้านอย่างจึงเรียกขานบริเวณนี้ว่าบ้านย่านดินแดง ในอำเภอพระแสงในปัจจุบันนี้นั่นเอง หลังจากการต่อสู้ยาวนานหลายวันผ่านไป ผลปรากฏว่าพญาท่าข้ามในร่างจระเข้ยักษ์เป็นฝ่ายชนะในการต่อสู้ครั้งนี้เนื่องจากพญายอดน้ำ หมดแรงและถอยกลับไปอย่างชอกช้ำ ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวเป็นเพียงเรื่องเล่าต่อๆกันมา แต่ปัจจุบันนี้ชาวพุนพินต่างเคารพศรัทธาในพญาท่าข้ามมากในสมัยที่แม่น้ำตาปียังมีจระเข้ชุกชุมอยู่ จระเข้เป็นสัตว์ที่สร้างความหวาดผวาให้กับผู้คนที่จะต้องผูกพันกับแม่น้ำลำคลองเป็นอย่างมากนั่นเอง
ความเชื่อ
คนรุ่นก่อนและคนท่าข้าม มีความเชื่อว่าพญาท่าข้าม คือผู้ที่คอยปกปักคุ้มครองคนดี ซึ่งมีเรื่องเล่าจากคนเฒ่าคนแก่ ว่าในสมัยที่น้ำท่วมหนักตอนนั้นยังไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำตาปี พญาท่าข้ามจึงได้แปลงร่างเป็นจระเข้ขนาดใหญ่ยักษ์ โผล่ขึ้นมาเล็กน้อยดูคล้ายกับเนินดิน เพื่อให้ชาวบ้านใช้เป็นสะพานในการเดินข้ามไปมา และทุกวันนี้ ชาวพุนพินและบริเวณใกล้เคียง ยังคงเชื่อว่าพญาท่าข้ามยังคงคอยปกปักรักษาคุ้มครองคนดีตลอดมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง
สรุป ตำนานสงครามรักแห่งลุ่มแม่น้ำตาปี
เป็นเรื่องราวที่เล่าต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณที่พูดถึงการต่อสู้ระหว่างผู้มีฤทธิ์ทั้งสอง เพื่อแย่งชิงสาวงามมาเป็นของตน ซึ้งทั้งสองมีวิชาอาคมและยังเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน และในการต่อสู้ครั้งนี้ได้กลายเป็นตำนานที่ถูกเล่าขนานกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั่นเอง
ก่อนจากกันวันนี้ ยังมีเรื่องราวที่เกี่ยว โชคลาภ ให้ท่านได้อ่าน