พญาคันคาก นิทานพื้นบ้านอีสาน สู่ประเพณีบุญบั้งไฟ
หลายคนคงรู้จักประเพณีบุญบั้งไฟ ของภาคอีสานที่ในอดีตเคยถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ก่อนจะเข้าฤดูการทำนา แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าการจัดบุญบั้งไฟนั้นมีตำนานพื้นบ้านเล่ากันมาอย่างยาวนาน แต่จะเป็นตำนานอะไร แล้วพญาคันคากคือใคร มีความเกี่ยวข้องยังไงกับบุญบั้งไฟ ในบทความนี้มีคำตอบ
นงน้อย.com เว็บอัพเดพข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องโชคลาภ
พญาคันคาก คือใคร
พญาคันคาก คือพระโพธิสัตว์ ที่ในชาติหนึ่งได้เสวยชาติมาเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์เมืองพันทุมวดี เมื่อตอนที่เกิดมามีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับคางคก ผิวพรรณขรุขระ ไม่น่ามอง ชาวบ้านในภาคอีสานจึงได้เรียกกันว่า “ คันคาก ” ในภาษาไทยนั้นก็คือ คางคก แต่ด้วยความที่พระอินทร์รู้ว่านี่คือ พระโพธิสัตว์จึงได้คอยให้ความช่วยเหลือจนพระโอรสคันคากกลายเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน จึงถูกเรียกว่าพญา คันคากตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ตำนาน นิทานของพญาคันคาก
- ตำนานที่หนึ่ง เมื่อครั้งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าได้กำเนิดเป็นพญาคางคกและอาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ต้นใหญ่ แต่ไม่ได้แจ้งให้พญาแถนเทพแห่งสายฝนได้ทราบการมาเกิดนี้จึงทำให้พญาแทนโกรธเคืองเป็นอย่างมาก จีงทำให้บนโลกมนุษย์ไม่มีฝนตกตลอดทั้ง 7 เดือน ทำให้ให้มนุษย์ สัตว์น้อยใหญ่ และพืชผักต่างพากันล้มตาย จึงทำให้พวกที่แข็งแรงที่ยังอยู่รอดได้จัดทับไปรบกับพญาแถน แต่รบไปหลายครั้งก็พ่ายแพ้ จนถึงคราวที่พญา คันคากนำทับรบเอง จึงได้ใช้การวางแผนที่แยบยล โดยให้มอดไปกัดทำลายอาวุธของพญาแถนจนพัง ให้ตะขาบไปอยู่ตามเสื้อทหารของพญาแถนและกัดต่อย จนพญาแถนไม่สามารถสู้ได้และยอมแพ้ต่อพญา คันคากในที่สุด และได้ทำข้อตกลงกันขึ้นว่า “ เมื่อใดที่มนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นบนท้องฟ้า ให้พญาแถนนั้นปล่อยฝนให้ตกลงบนโลก เมื่อมีฝนตกให้บรรดาบริวารของพญา คันคาก นั้นก็คือ กบ เขียด ส่งเสียงร้องให้พญา คันคากได้รับรู้ และเมื่อใดที่พญาแถนได้ยินเสียงสนูของว่าว ให้รับรู้ว่าต้องสั่งให้ฝนหยุดตก ” เพื่อที่มนุษย์จะได้เตรียมตัวเพื่อเก็บเกี่ยวข้าว
- ตำนานที่สอง ในนิทานพื้นบ้านได้เล่าไว่ว่า ณ เมืองแห่งหนึ่ง คือเมืองอินทะปัตถานคร มีเจ้าผู้ปกครองเมืองที่ชื่อว่าพญาเอกราช ทั้งเจ้าผู้ปกครองและคนในเมืองนี้ต่างก็เคารพบูชาพญาแถน อยู่มาวันหนึ่งเจ้าผู้ครองเมืองได้มีพระโอรสที้มีรูปโฉมอัปลักษณ์ ผิวพรรณขรุขระเหมือนคางคก จึงได้ตั้งชื่อโอรสองค์นี้ว่า “ พญา คันคาก ” ไม่เป็นที่รักของผู้คน แต่ด้วยความเพียรพยายามเมื่อเติบใหญ่ พญา คันคากได้ปฏิบัติธรรมเป็นผู้ทรงทศพิธราชธรรมจนได้ขึ้นครองเมืองต่อจากผู้เป็นพ่อ เนื่องด้วยบุญญาธิการมีอยู่มากรูปร่างจึงได้เปลี่ยนแปลงไปจนมีรูปโฉมที่งดงาม ผู้คนต่างยกย่องสรรเสริญ จนคนทั้งเมืองลืมบวงสรวงให้พญาแถน ในขณะเดียวกัน อีกเมืองหนึ่งที่มีพระยาขอมเป็นผู้ครองเมืองมีธิดาโฉมได้งามชื่อว่านางไอ่ ด้วยความงามของนางจึงทำให้โอรสของพญานาคที่มีชื่อว่าท้าวภังคีเสียชีวิต ทำให้พญานาคตนนั้นโกรธเป็นอย่างมาก จึงส่งจมบ้านเมืองของนางไอ่ แต่โชคดีที่ผาแดงช่วยนางไอ่ไว้ได้ แต่สุดท้ายพญานาคก็ได้ฆ่านางไอ่ได้สำเร็จ จนเรื่องไปถึงหูพญาแถน พญาแถนโกรธที่มีต่อมนุษย์และพญานาคจึงสั่งพญานาคไม่ให้ลงไปเล่นน้ำที่สระโบกขรณีบนฟ้าตามที่เป็น ทำให้น้ำในสระนิ่งไม่เอ่อล้นลงมาบนพื้นดิน นั้นก็คือไม่มีฝนตก นาน 7 ปี 7 เดือน และ 7 วัน จนเกิดความแห้งแล้ง สรรพสัตว์ล้มตาย จนทำให้พญา คันคากหมดความอดทนยกทับไปบนสวรรค์เพื่อต่อสู้กับพญาแถน สุดท้ายแล้วจึงทำให้พญา คันคากเป็นผู้ชนะ จึงสั่งให้พญาแถนยินยอมให้พญานาคลงไปเล่นน้ำทุกๆ 6 เดือน แต่ให้พญา คันคากส่งบั้งไฟขึ้นไปบอก จึงจะอนุญาตให้พญานาคได้ลงเล่นน้ำและทำให้ฝนตกลงมาบนโลกเพื่อให้มนุษย์ได้ทำการเกษตรได้ตามฤดูกาล
พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก
พิพิธภัณฑ์พญา คันคาก หรือ พิพิธภัณฑ์คางคก สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดยโสธร เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นให้สอดคล้องกับตำนานความเชื่อพื้นบ้านของคนอีสาน ตำนานที่เกี่ยวเนื่องกันระหว่างพญาแถนและพญา คันคาก ที่ทำให้เกิดประเพณีบุญบั้งไฟที่โด่งดัง ตัวอาคารของพิพิธภัณฑ์มีความสูง 5 ชั้น ความสูงราวๆ 19 เมตร ภายในมีการจัดนิทรรศการเรื่องราวความเป็นมาของบั้งไฟ นิทรรศการชนิดของคางคก กบ อึ่ง ที่พบได้ในประเทศไทย ภายในนอกอาคารยังมีสวนสาธารณะพญาแถนให้ได้นั่งพักผ่อนหย่อนใจอีกด้วย
พิพิธภัณฑ์พญา คันคาก ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำลำทวน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เข้าชมได้ในวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 10.00-16.00 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น. และหยุดทุกวันอังคาร มีค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท
สรุป
พญา คันคาก นิทานพื้นบ้านอีสาน สู่ประเพณีบุญบั้งไฟ นอกจากประเพณีบุญบั้งไฟที่เป็นที่รู้จักแล้ว ยังมีพิพิธภัณฑ์พญา คันคากที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อของจังหวัดยโสธร หากท่านใดได้ผ่านไปเที่ยวที่จังหวัดยโสธร ก็อย่าแวะไปดูเรื่องรางของพญา คันคากและชมเมืองยโสธรกัน
ยังมีเรื่องราวความเชื่ออื่นๆอีกมากซึ่งท่านสามารถติดตามที่จากเว็บนี้