ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ จังหวัดพะเยา
ถ้าพูดถึงประเพณีพื้นบ้านต่างๆ เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินหรือเคยพบเจอมาก่อนไม่มากก็น้อย ซึ่งบ้างประเพณีก็จะมีการพูดถึงการเลี้ยงผี บวงสรวงเทวดา หรือพ่อปู่แม่ย่าและในแต่ละพื้นที่ก็จะมีพิธีกรรมต่างกัน ซึ่งเราก็คงเคยสงสัยกันว่าพิธีกรรมเหล่านี้เขาทำขึ้นมาทำไมหรือเพราะเหตุใดถึงต้องมีการจัดประเพณีแบบนี้ขึ้น และในบทความนี้จะมาเล่าถึงหนึ่งประเพณีที่หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีนี้มาก่อน ซึ่งนั่นก็คือประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำในจังหวัดพะเยานั่นเอง เรื่องราวจะเป็นอย่างไรติดตามได้ในบทความนี้กันเลย
อัพเดทเว็บข่าวสารที่เกี่ยวกับโชคลาภที่ดีที่สุดสำหรับคุณ นงน้อย.com
ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ
ประเพณีเลี้ยงผีนี้ คำว่า ผี คงความหมายเอาวิญญาณหรือสิ่งที่สิงสถิตอยู่ในที่นั้นๆ คำว่า ขุน หมายถึง ความเป็นใหญ่ ต้นตอ ประธาน หรืออารักษ์ คำว่าน้ำ มีความหมายเป็นที่รู้จักกันปกติอยู่แล้ว แต่ความหมายในที่นี้คือแม่น้ำลำธารเหมืองฝาย เพราะฉะนั้น คำว่า ผีขุนน้ำ ก็หมายถึงสิ่งที่สิงสถิตอยู่ตามต้นน้ำลำธารหรืออารักษ์ การเลี้ยงผีขุนน้ำคือการทำพิธีสังเวยผีหรือเทวดาอารักษ์ ผู้เป็นหัวหน้าของผีอารักษ์ทั้งหลายที่ทำหน้าที่ ปกปักรักษาป่าไม้อันเป็นต้นน้ำสาธาร เพื่อเป็นการขอบคุณเทวดาที่บันดาลให้มีน้ำใช้ในการเกษตรกรรม โดยเฉพาะในเขตลุ่มน้ำของลำน้ำนั้นๆ และยังเป็นการขอให้ผีประจำขุนน้ำบันดาลให้ฝนตกและมีน้ำจากขุนน้ำหรือต้นน้ำนั้นลงมาสู่พื้นราบได้นั่นเอง
ผีขุนน้ำ
ผีขุนน้ำเป็นอารักษ์ประจำต้นน้ำแต่ละสาย ซึ่งสถิตอยู่บนดอยสูงอันเป็นต้นแม่น้ำทั้งหลาย มักจะอยู่ตามใต้ต้นไม้ใหญ่ ชาวบ้านก็จะอัญเชิญมาสถิตอยู่ในหอผีที่ปลูกขึ้นอย่างค่อนข้างแข็งแรงและถาวรใต้ต้นไม้เหล่านั้น ผีขุนน้ำห้วนน้ำขุ่น เป็นต้นน้ำที่สำคัญของตำบลบ้านต๊ำ ที่พิเศษของขุนน้ำที่นี้คือ เป็นขุนน้ำซับที่ซึมออกมาจากใต้ผิวดินชาวบ้านจึงเรียกกันว่า น้ำออกบ่อ หรือ น้ำออกรู ซึ่งไหลออกมาอย่างไม่ขาดสาย และไม่มีเหือดแห้งตลอดปี ต้นน้ำแห่งนี้ก็จะไหลลงไปหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตรของชาวตำบลบ้านต๊ำ และตำบลท่าจำปี และไหลไปสู่กว๊านพะเยาในที่สุด และเพื่อแสดงความขอบคุณผีขุนน้ำที่ปกปักรักษาป่าไม้ที่เป็นต้นแม่น้ำลำธาร ให้ชาวบ้านมีน้ำเพื่อใช้ในการทำการเกษตร เช่น ทำนา ทำไร่ และเป็นการเตรียมตัวเพื่อรับฤดูการทำการเกษตร ซึ่งประเพณี เลี้ยงผีแห่งนี้ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันต่อมาหลายชั่วอายุคนมาจนถึงปัจจุบัน เพราะนอกจากจะทำให้คนในชุมชนได้ระลึกถึงบุญคุณของต้นน้ำแล้ว ยังเป็นกุศโลบายให้คนในตำบลมีการอนุรักษณ์และหวงแหนทุนของชุมชนแห่งนี้ให้เป็นสมบัติสู่รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปนั่นเอง
การจัดพิธีเลี้ยงผีขุนน้ำ
การจัดพิธีเลี้ยงผีขุนน้ำส่วนใหญ่จะจัดขึ้นในเดือนเก้า (มิถุนายน) หรือบางหมู่บ้านจะมีการทำก่อนการทำนาเป็นประจำทุกปี ก่อนทำการเลี้ยงต้องมีการประชุมกันก่อนระหว่างลูกเหมือง หรือผู้คนที่ใช้น้ำในแม่น้ำทำการเกษตร เมื่อประชุมตกลงกันและหาฤกษ์งามยามดีกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการเรี่ยไรเงินเพื่อจัดซื้อเครื่องสังเวยต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย เทียน 4 เล่ม ดอกไม้ 4 กรวย พลู 4 หมาก 4 ขดหรือ 4 ก้อม ช่อขาว (ธง) 8 ผืน มะพร้าว 2 คะแนง กล้วย 2 หวี อ้อย 2 เล่ม หม้อใหญ่ 1 ใบ แกงส้มแกงหวาน หัวหมู ไก่ต้ม สุรา และโภชนาหาร 7 อย่าง รวมทั้งเมี่ยงและบุหรี่ เป็นต้น เมื่อจัดการเครื่องสังเวยพร้อมแล้ว ก็ทำชะลอมขึ้น 3 ใบ สำหรับใส่เครื่องสังเวยต่างๆ ที่จัดเตรียมไว้ ชะลอม 2 ใบ แรกให้คนหาบไป ส่วนใบที่ 3 นั้นให้คอนไป แล้วให้ทำศาลขึ้นหลังหนึ่ง ณ ที่ต้นแม่น้ำลำธารสำหรับที่ที่จะเลี้ยงนั้น ต้องประกอบด้วยหลักช้างหลักม้า ปักอยู่ใกล้ๆศาลแล้วนำเอาเครื่องสังเวยต่างๆขึ้นวางบนศาลนั้น แล้วทำพิธีกล่าวอัญเชิญเทวดาอารักษ์รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผีสางต่างๆอันประจำรักษาอยู่ ณ ต้นแม่น้ำลำธารแห่งนี้ให้รับรู้แล้วมารับเครื่องสังเวยต่างๆ ตลอดจนขอให้อำนวยพรให้มีน้ำอุดมสมบูรณ์ มีฝนตกต้องตามฤดูกาล ต่อจากนั้นเมื่อตั้งเครื่องสังเวยนานพอสมควรแล้ว ก็นำเอาเครื่องสังเวยนั้นมาแบ่งปันกันกินต่อก็เป็นอันเสร็จพิธีนี้นั่นเอง
สรุป
ประเพณี เลี้ยงผีขุนน้ำเป็นประเพณีพื้นบ้านที่เชื่อกันว่า ในแม่น้ำลำธารต่างๆจะมีเทวดาอารักษ์ หรือภูตผีต่างๆค่อยดูแลปกปักรักษาต้นน้ำ และแม่น้ำลำธารแต่ละสายไว้ ซึ่งประเพณี เลี้ยงผีก็เปรียบได้เหมือนกันขอบคุณแม่น้ำลำธาร ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตและวิธีชาวบ้านในหลายด้าน เช่นการการเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ และใช้ในชีวิตประจำวัน และนี้ก็คือวิถีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั่นเอง
ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ ตำนาน ความเชื่อ และโชคลาภอีกมากมาย ท่านสามารถติดตามที่จากเว็บนี้