ทำไม “จีวรพระ” ต้องเป็น “สีเหลือง”
เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า จีวรพระทำไมถึงต้องเป็นสีเหลือง แล้วพระนั้นจะใช้จีวรที่ไม่ใช่สีเหลืองได้ไหม เพราะอะไร ไปหาคำตอบกันได้ในบทความนี้เลยครับ
สำหรับวันนี้ นงน้อย.com เว็บอัพเดพข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องโชคลาภ
ทำไมจีวรพระต้องเป็นสีเหลือง
จีวรพระไม่ได้จำเป็นต้องสีเหลืองเสมอไป โดยที่สีอื่นก็ใช้ได้เช่นกัน เพราะสีที่ห้ามใช้จะมีแค่สีคราม แดง แสด บานเย็น ชมพู และดำ ส่วนสีอื่นนอกจากนั้นพระสามารถใช้ได้ ซึ่งตั้งแต่สมัยพุทธกาลนั้น จีวรพระจะใช้การย้อมสี ท่านจะใช้พวกแก่นไม้ ยางไม้มาย้อม หรือใช้ยางจากผลไม้ จากแก่นไม้มาย้อม ซึ่งสีจึงไม่สม่ำเสมอ แต่สุดท้ายสีที่ได้ก็จะเป็นสีโทนเหลืองเหมือนๆกัน จะแตกต่างกันแค่ความเข้มของสีที่ได้จากยางไม้ แม้ว่าเป็นแก่นไม้ต่างประเภทกัน หรือแก่นไม้ชนิดเดียวกัน สีก็ไม่สม่ำเสมอกันอยู่ดี เพราะเหตุนี้จึงเห็นได้ว่าจีวรพระนั้น จะใช้เพียงสีเหลือง เพราะยึดถือปฏิบัติกันให้เหมือนกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล จนถึงปัจจุบันนั่นเอง
สีย้อมของจีวรพระ
จีวรเป็นผ้าห่มคลุมกายของพระภิกษุุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ซึ่งในสมัยพุทธกาล การย้อมจีวร พระภิกษุสงฆ์จะใช้มูลโคหรือดินแดงย้อมจีวร ทำให้สีของจีวรเป็นสีคล้ำต่างๆ ไม่เป็นเอกภาพ มีการทักท้วง พระพุทธเจ้าจึงทรงให้ ภิกษุทั้งหลายอนุญาตให้ใช้น้ำย้อม 6 ชนิดสำหรับย้อมจีวร นั้นก็คือ น้ำย้อมจากรากไม้ น้ำย้อมจากต้นไม้ น้ำย้อมจากเปลือกไม้ น้ำย้อมจากใบไม้เปียกใบไม้แห่ง น้ำย้อมจากตัวดอกไม้ และน้ำย้อมจากผลไม้ เมื่อย้อมเสร็จแล้วจีวรจะออกมาเป็นสีกรัก สีเหลืองหม่น หรือสีเหลืองเจือแดงเข้มเหมือนย้อมด้วยแก่นขนุน สมัยนั้นเองสีจีวรของพระโดยทั่วไปจะไม่ค่อยสม่ำเสมอ สาเหตุเพราะว่า พระท่านใช้พวกแก่นไม้ แก่นยางมาย้อม ไม้บางพันธุ์ให้สีเข้มอ่อนไม่เท่ากัน ด้วยวิธีการย้อมนี้จะเรียกว่าการย้อมฝาด สารฝาด เป็นสารแทนนิน ที่มีอยู่ในส่วนของพืชบางชนิด ที่มีรสขมฝาด สารดังกล่าวมีคุณสมบัติช่วยให้สีติดกับเส้นใยผ้า เชื่อกันว่าเมื่อย้อมฝาดแล้วจะทำให้ผ้านั้นไม่เปื่อยง่าย เพราะว่ายางไม้บางชนิดจะมีคุณสมบัติเป็นยา ทำให้เชื้อราไม่เจริญง่าย การย้อมสีจีวรเมื่อเทียบกับสมัยนี้ ที่มีขั้นตอนมากกว่า และปัจจุบันนี้พระท่านไม่ค่อยนำแก่นไม้แก่นยางมาย้อมจีวร เพราะส่วนหนึ่งก็หายาก และต้องช่วยกันรักษาป่าไม้ ปัจจุบันจึงต้องใช้สีย้อมสังเคราะห์ขึ้นมาแทน โดยจัดทำสีที่ใกล้กับสีของพวกแก่นไม้แก่นยาง ตามประเพณีนิยมและวัฒนธรรมของชาวพุทธนั่นเอง
ลักษณะของจีวรพระ
1.ไม่ควรกระดำกระด่าง
ถ้ากระดำกระด่างจะไม่สวยงาม
2.เวลาที่นุ่งห่ม
สบงที่นุ่ง จีวรที่ห่ม สังฆาฏีที่พาดไหล่ ควรจะต้องเป็นสีเดียวกัน ไม่ควรมีสีที่ด่างหรือไม่เท่ากันจะดูไม่งาม แต่ถ้าเป็นสีเดียวกันและเป็นสีย้อมฝาดก็สามารถอนุโลมกันได้
สรุป
ทำไม “จีวรพระ” ต้องเป็น “สีเหลือง” หลายท่านคงจะได้คำตอบสำหรับความสงสัยในเรื่องนี้กันไปแล้ว ซึ่งสีของจีวรพระนั้น ก็ได้ยึดถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่ก็ไม่ใช่ว่าจีวรพระจะทำเป็นสีอื่นไม่ได้ เว้นแต่สีที่ห้ามทำที่เราได้กล่าวมานั้น สีนอกจากนั้นก็สามารถทำได้นั่นเองครับ
ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับความต่างๆอีกมากมาย ท่านสามารถติดตามที่จากเว็บนี้