ตำนานเทวรูป “เจ้าแม่นาคี” ศาลาแก้วกู่ จ.หนองคาย
ถ้าพูดถึงอุทยานเทวาลัยแห่งความศรัทธา เชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินกับคำนี้ แต่ถ้าพูดถึงศาลาแก้วกู่หรือว่าวัดแขก หลายคนน่าจะเคยได้ยินและรู้จักกันไม่มากก็น้อย ซึ่งภายในสถานที่แห่งนี้จะมีรูปปั้นเทวรูปต่างๆมากมาย และจะมีรูปปั้นหนึ่งองค์ที่เชื่อว่าเป็นรูปปั้นของเจ้าแม่นาคี และได้มีเรื่องราวความเชื่อเกิดขึ้นมากมายในสถานที่แห่งนี้ และในบทความนี้จะมาเล่าถึงเรื่องราวเหล่านั้นให้ได้รับรู้กันนั่นเอง
ศาลาแก้วกู่ จ.หนองคาย
สำหรับศาลาแก้วกู่อุทยานแห่งความศรัทธานี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่มากกว่า 42 ไร่อยู่ที่ชุมชนสามัคคี อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเพียงแค่ 3 กิโลเมตรสถานที่แห่งนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาชมความแปลกตาเพราะว่าภายในสถานที่นี้ เต็มไปด้วยรูปปั้นคอนกรีตขนาดใหญ่มีความยิ่งใหญ่อลังการมากกว่า 200 องค์ ซึ่งทั้งหมด ถูกสร้างขึ้นด้วยความศรัทธาและความเชื่อของปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์โดยสร้างขึ้นเมื่อราวปีพุทธศักราช 2521 จากความเชื่อที่ว่าทุกศาสนาสามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้ โดยท่านต้องการให้อุทยานเทวาลัยแห่งนี้เป็นสถานที่ที่หมายถึงดินแดนแห่งการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง โดยรูปปั่นแต่ละองค์ในอุทยานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นจากจินตนาการของปู่บุญเหลือ เพียงคนเดียวเท่านั้นโดยไม่มีการออกแบบหรือแบบร่างใดๆก่อนเลย ซึ่งปกติในการสร้างรูปปั้นเหล่านี้จะต้องมีการคำนวนค่าใช้จ่าย คำนวณวัสดุอุปกรณ์และสิ่งต่างๆในการสร้างก่อนจึงจะสร้างได้ แต่สำหรับเทวรูปภายในศาลาแก้วกู่แห่งนี้ มีเพียงการเซ่นสรวงเทวดาฟ้าดินก่อนการสร้างเท่านั้น แล้วก็จะมีปู่บุญเหลือควบคุมงานเพื่อที่จะให้รูปปั้นแต่ละรูปถูกสร้างมาได้ตรงตามที่ปู่บุญเหลือนิมิตรเห็นเพียงเท่านั้นเอง โดยที่ไม่ได้มีแบบหรือว่าโครงร่างให้คนงานได้ดูแต่อย่างใด ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลกที่รูปปั้นแต่ละรูปสามารถสร้างเสร็จสมบูรณ์ได้โดยที่ไม่มีปัญหาใดๆในระหว่างการก่อสร้างเลยนั่นเอง
ก่อนไปกันต่อ นงน้อย.com เว็บอัพเดพข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องโชคลาภ ก็มีข่าวสารอีกมากมายมานำเสนอ
ความสวยงานและความหมาย
ซึ่งรูปปั้นแต่ละรูปมีความสวยงามแล้วก็แข็งแรงตามที่ปู่บุญเหลือต้องการ ซึ่งถ้าเข้าไปเดินชมความงามของเทวรูปต่างๆ ภายในนี้ก็จะให้ความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่อลังการไปหมดโดยเทวาลัยแต่ละองค์ก็จะมีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติตรัสรู้ปรินิพพาน จนถึงเรื่องราวต่างๆตามตำนานความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ฮินดูและก็คริสต์อีกด้วย ซึ่งก็จะมีบางส่วนที่จำลองเหตุการณ์จากวรรณคดีสุภาษิตโบราณ สร้างแล้วก็จัดแสดงไว้ภายในสวนเหมือนกัน โดยบริเวณฐานของเทวรูปแต่ละองค์จะมีคำอธิบายเป็นภาษาอีสาน ภาษาไทยกลางที่บอกเล่าถึงความหมายของชิ้นงานนั้นๆเพื่อที่จะให้นักท่องเที่ยว ทำความเข้าใจกับคำสอนที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่นประติมากรรมหมาเห่าช้าง ซึ่งได้มีการอธิบายความหมายว่าหมาเห่าช้างช่างปากหมามันเถอะ แล้วแต่ดวงชะตาดูขนาดหมากับช้างหมากัดขาหลังช้างก็ยังไม่หมด ซึ่งจะให้ความหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของเราว่าหากได้ยินใครนินทาหรือว่าร้ายอะไรก็ตาม ก็อย่าไปใส่ใจให้มันมากนัก เพราะมันก็เป็นเพียงแค่คำนินทาทำอะไรเราไม่ได้มากหรอกทำได้ก็เพียงแค่สร้างความรำคาญให้เราเท่านั้นเอง ซึ่งภายในศาลาแก้วกู่แห่งนี้เต็มไปด้วยคำสอนที่เราสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเราอย่างเต็มไปหมดเลยนั่นเอง ซึ่งสำหรับเทวรูปที่ผู้คนให้ความสนใจเป็นจำนวนมากจะอยู่ตรงช่วงกลางของศาลาแก้วกู่แห่งนี้ ซึ่งมีรูปปั้นรูปหนึ่งที่จะมีลักษณะคล้ายกับเจ้าแม่นาคีที่ปรากฏอยู่ในละครเรื่องนาคีเลยนั่นเอง
ตำนานรูปปั้นเจ้าแม่นาคี
สำหรับรูปปั้นเจ้าแม่ นาคีส่วนบนจะเป็นมนุษย์ และมีส่วนท่อนล่างที่ทอดยาวเป็นพญานาคี ซึ่งก็มีบริวารคอยดูแลปกป้องอยู่ด้านล่าง โดยมีขนาดความยาวอยู่ที่ 24 เมตรซึ่งถูกบูรณะเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2546 ใต้ฐานของรูปปั้นจะมีการสลักเรื่องราวไว้ว่านี้คือพระเจ้าย่าทวดแอไค่ ซึ่งน่าจะเป็นภาษาอีสานโดยย่าทวดแอไค่เป็นวรรณคดีของชาวอีสานที่เล่ากันว่า ตอนพระนางแอไค่กับขุนเทืองได้ลักลอบสมสู่กันที่อุทยานสวนดอกไม้ หลังจากนั้นพระนางแอไค่ได้นำตัวขุ่นเคือง ออกจากอุทยานสวนดอกไม้ไปไว้อย่างนาคพิภพ ซึ่งตามกฎมณเฑียรบาลของนาคพิภพนั้น มนุษย์กับนาคจะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ดังนั้นจึงนำขุนเทืองไปซ่อนไว้ในปราสาท ของเขาพระสุเมรุ เป็นเวลายาวนานกว่า 7 ปี 7 เดือน 7 วัน โดยขุนเทืองไม่ทราบเลยว่าเมียของตนเป็นนาค จนทำให้พระนางแอไค่ลืมหน้าที่ควรปฏิบัติของตน เมื่อถึงเวลาอันสมควรตามความเชื่อของทางภาคอีสานจะมีความเชื่อว่า เมื่อเวลาถึงฤดูที่จะต้องทำนาก็จะมีเหล่าพญานาคออกมาเล่นน้ำซึ่งเวลาที่พญานาคเล่นน้ำนั้น ก็จะทำให้ฝนตกลงมานั่นเอง แต่ถ้าว่าพระนางแอไค่นั้นไม่ยอมออกมาเล่นน้ำ เนื่องจากว่าเวลาที่นาคเล่นน้ำจะทำให้นาคคืนร่างเดิม ดังนั้นดินฟ้าอากาศจึงไม่เป็นไปตามที่สมควร ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทั้งสามโลก ซึ่งหลังจากนั้นพระนางแอไค่ก็รู้ว่าตนทำผิดต่อกฎมณเฑียรบาลของทั้งสามโลก จึงได้ลงไปเล่นน้ำพร้อมกับบริวาร แต่บอกกับสามีว่าอย่าเปิดประตูหรือหน้าต่างเป็นอันขาด พอบอกกับสามีแล้วพระนางพร้อมกับบริวารก็แห่ลงไปเล่นน้ำ ซึ่งหลังจากไม่ได้เล่นน้ำกันมานาน เหล่าพญานาคก็ต่างเล่นน้ำจนแผ่นดินสะเทือน ดังสนั่นไปทั่วแดน พอขุนเทืองได้ยินเสียงดังที่เกิดขึ้นก็เลยเปิดประตูหน้าต่างออกมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น จึงได้รู้ว่าจะเป็นภรรยาของตนเองเป็นพญานาคนั่นเอง และนี้ก็คือตำนานตามวรรณคดีของภาคอีสานที่เชื่อว่ารูปปั่นเจ้าแม่ นาคีที่อยู่ในศาลาแก้วกู่ ก็คือพระนางแอไค่นั่นเอง
สรุป
อุทยานแห่งนี้ศาลาแก้วกู่หรือวัดแขก ยังมีประติมากรรมที่ยิ่งใหญ่ตระการตาที่ผสมผสานวัฒนธรรมวิถีชีวิตที่แขวงไปด้วยคำสอนอีกมายมากรวมทั้งสิ้น 280 องค์ ทำให้ปัจจุบันนี้ ศาลาแก้วกู่เป็นหนึ่งสถานที่ที่มีความสวยงามและมีผู้คนต่างเข้าไปเยี่ยมชมประติมากรรมเหล่านี้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีเหล่าคนที่เชื่อว่าสถานที่แห่งนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยปกปักรักษาไว้ จึงมีคนมาขอโชคขอลาภเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว และบางคนก็ได้ดังสมใจปรารถนากลับไปจึงทำให้ศาลาแก้วกู่มีชื่อเสียงมากในปัจจุบันนี้นั่นเอง
ยังมีเรื่องราวอีกมากมาย ท่านสามารถติดตามที่จากเว็บนี้