ตำนานพื้นบ้าน ท้าวคันธนาม วัดขุมคำ จ.อุบลราชธานี

 

ตำนานพื้นบ้าน ท้าวคันธนาม วัดขุมคำ จ.อุบลราชธานี 

ท้าวคันธนาม แห่งวัดขุมคำ เป็นตำนานพื้นบ้านที่เล่าต่อกันมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเป็นตำนานพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุบลราชธานีและในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ภายในวัดขุมคำยังมีการขุดค้นพบวัตถุโบราณมากมายที่อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับตำนานพื้นบ้านท้าวคันธนามนี้อีกด้วย

นงน้อย.com เว็บอัพเดพข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องโชคลาภ 

 

ประวัติวัดขุมคำ อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี

วัดขุมคำ ตั้งอยู่ที่บ้านขุมคำ หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งเค็ง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดที่เก่าแก่ เมื่อตอนก่อตั้งวัดมีเนื้อที่ 15 ไร่ สภาพพื้นที่ภายในวัดมีลักษณะเป็นลานหินและมีแหล่งหินทรายสีเขียว  หลุมที่เกิดจากการกระทำของน้ำ ซึ่งมีลักษณะคล้ายโพรงหรือถ้ำจำนวนมาก มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ ชื่อว่า พระพุทธมหิทธาดล หรือ พระเจ้าใหญ่ขุมคำ มีความสูงจากพื้นดินถึงเกศ 22 เมตรขนาดหน้าตักกว้าง 11  เมตร แท่นพระ 6 เมตร องค์พระ 16  เมตร พระพุทธรูปพระเจ้าใหญ่ขุมคำ ก่อสร้างเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2508  ปีมะเส็ง ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 3 ค่ำ ชาวบ้านจึงได้ให้วัดนี้เป็นวันจัดงานบุญประจำปีของวัด  เชื่อกันว่าเมื่อหนุ่มสาวที่มาเที่ยวงานบุญและได้มากราบไหว้ขอพร

กับพระเจ้าใหญ่ขุมคำมักจะสมหวังกับคู่รัก บ้างก็ได้แต่งงาน อีกทั้งยังมีคู่รักที่แต่งงานกันแล้วแต่ยังไม่มีบุตร แต่เมื่อมากราบไหว้ขอพรกลับไปไม่นานก็มีบุตร และนอกจากนี้ผู้คนยังนิยมไปกราบไหว้หินแกะสลักรูปอวัยวะโดยมีลักษณะเป็นลึงค์ และโยนีที่อยู่ภายในวัด เพราะเชื่อว่าหากได้ไปกับไหว้กับคนที่แอบรัก หรือคนรัก ความรักนั้นจะสมหวังดั่งปรารถนา ภายในวัดแห่งนี้ยังมีสัตว์นานาพันธุ์ เช่น ไก่ป่า 1,000 ตัว นกยูงกว่า  30 ตัว และสัตว์อื่น ๆ อีกมากมาย

 

วัตถุโบราณในบริเวณวัดขุมคำ

  1. แหล่งหินทรายสีเขียว ชาวบ้านเรียกกันว่า กำแพงโบราณนั้น และเข้าใจว่ามีการนำหินมาจัดเรียงคล้ายกำแพง แต่เมื่อพิจารณาจากสภาพพื้นที่แล้ว พบว่าเป็นแหล่งหินทรายสีเขียวซึ่งมีร่องรอยการตัด แต่ยังไม่แน่ชัดว่าเกิดจากการกระทำตามธรรมชาติหรือว่าจากการกระทำของมนุษย์  
  2. ดาบโบราณ ที่ทำจากหิน
  3. ร่องรอยของหินกระดูกงูซวง จำนวน 13 ชิ้น
  4. รอยพญาช้างสาร รอยพญานาค   (ตามตำนาน) หลุมมันแซง
  5. หินแกะสลักที่มีลักษณะคล้ายคลึงอวัยวะเพศ นั้นก็คือ ลึงค์ (อวัยวะเพศชาย) และโยนี (อวัยวะเพศหญิง) 
  6. มีดกริชโบราณ  ถูกขุดพบเมื่อเดือน เมษายน พ.ศ. 2557 ภายในบริเวณวัดขุมคำ ค้นพบโดยพระอาจารย์บุญศรี  อนุตตโร เนื่องจากทางวัดได้ขุดสระน้ำเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง จึงทำให้ขุดพบมีดกริชโบราณคล้ายกับทองสัมฤทธิ์ สภาพยังสมบูรณ์ ความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ชาวบ้านต่างเชื่อกันว่าเป็นมีดกริชของท้าวคันธนาม ตามตำนาน พื้นบ้านที่เล่าสู่กันมา ทางวัดจึงได้นำขึ้นมาเก็บรักษาไว้ภายในวัด

 

  1. หินหัวงูซวง ถูกค้นโดยหลวงปู่ที่วัดขุมคำ เมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557 
  2. รอยเท้าแม่ย่ายักษ์ ค้นพบ 24 กรกฎาคม 2557 
  3. ดาบหินขนาดใหญ่ ค้นพบโดยหลวงปู่สิง เมื่อ 20 สิงหาคม 2557 

ตำนานพื้นบ้าน ท้าวคันธนาม วัดขุมคำ จ.อุบลราชธานี

ตำนานพื้นบ้าน ท้าวคันธนาม

ตำนาน พื้นบ้านเล่าว่า เมื่อนานมาแล้วในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองสาเกตุ มีสาวทึนทึกวัยกลางคนคนหนึ่ง ชื่อว่า อัมลา ทำมาหากินอยู่ในหมู่บ้าน นางอัมลามีที่นาอยู่ตรงบริเวณตรงกลางของที่นาชาวบ้านคนอื่นๆ เป็นไร่นาที่ปลูกข้าวได้งอกงามกว่าไร่นาของคนอื่น ต่อมาเมื่อถึงหน้าเกี่ยวข้าวได้มีพระอินทร์จุติในโลกมนุษย์ พระอินทร์ทรงแปลงร่างมาเป็นพญาช้างเผือกบุกรุกเหยียบย่ำไร่นาของนางอัมลา เมื่อรุ่งเช้านางได้มาดูไร่นา เมื่อได้เห็นข้าวถูกช้างเหยียบย่ำจนเสียหาย นางเสียใจคร่ำครวญบอกเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ชาวบ้านฟัง ชาวบ้านเกิดความเห็นใจนาง จึงพากันตามฆ่าช้าง ว่าแล้วก็ออกเดินทางตามรอยช้างไปเรื่อย ๆ จนมาถึงป่าดงหนา ซึ่งมีสายน้ำลำธารและโขดหินที่สวยงาม (เชื่อว่าคือ วัดขุมคำ ในปัจจุบัน) ด้วยความกระหายน้ำนางอัมลาจึงได้ดื่มน้ำจากรอยเท้าของพญาช้างที่เหยียบย่ำไว้ เมื่อคิดว่าจะไม่พบกับช้างที่มาทำไร่นานางพังแล้ว นางจึงตัดสินใจเดินทางกลับยังเมืองสาเกตุ เมื่อกลับมาอยู่บ้านได้ไม่นานนางอัมลาก็เกิดตั้งท้อง จากนั้นนางก็ได้คลอดลูกชาย อีกทั้งเด็กชายนั้นยังมีดาบติดตัวมาตั้งแต่เกิด นางจึงตั้งชื่อลูกว่า คันธนาม เมื่อคันธนามอายุได้ 7 ปี ได้เดินทางมาไกลเพื่อตามรอยเท้าของพ่อ จากนั้นจึงได้นั่งพักใกล้กับบริเวณถ้ำที่มียักษ์อาศัยอยู่ นั้นก็คือถ้ำบนภูดาววีหรือภูถ้ำวิ่ง (ปัจจุบันเรียกว่า ภูผักหวาน) ยักษ์ที่ไม่ชอบใจ จึงส่งงูซวงขนาดใหญ่ จึงได้นำดาบที่ติดตัวมาแต่เกิดสังหารงูซวงจนตายเมื่อพวกยักษ์ที่อยู่ในถ้ำบนภูดาววี รู้ว่ามีคนฆ่าบริวารของตนเอง ยักษ์ก็ได้มาดู ก็เกิดความโกรธอย่างหนัก จึงถลาเข้าไปจับมวยผมของแม่อัมลา คันธนามมองเห็นแม่เสียทีให้กับยักษ์ จึงได้เกิดการต่อสู้กันระหว่างคันธนามกับยักษ์ แต่ในที่สุดยักษ์ก็ยอมแพ้ขอชีวิตกับคันธนาม ยักษ์ได้สัญญากับคันธนามว่าจะเป็นทาสรับใช้ตลอดไป และได้ยกทองคำจำนวนหนึ่งเป็นของกำนัลให้คันธนามและแม่อีกด้วย แล้วยักษ์ก็เปิดแผ่นหินที่ปิดขุมคำออก คันธนามกับแม่ก็ได้หาบเอาทองคำทั้งหมด กลับไปเมืองสีสาเกตุ เมื่อไปถึงหนองน้ำแห่งหนึ่ง สองแม่ลูกก็พากันเอาะคำหรือหลอมทองคำให้เป็นแท่ง ต่อมาหมู่บ้านแห่งนั้นจึงชื่อว่าเรียกว่า บ้านหนองเอาะ จากนั้นสองแม่ลูกหาบทองคำเดินต่อไปอีกสักระยะหนึ่งสายคุ (ถังน้ำ) ที่บรรจุทองคำด้านหนึ่งขาด แม่อัมลาจึงได้คอนเอา บริเวณนั้นจึงถูกตั้งชื่อว่า บ้านคอนสาย ต่อจากนั้นสองแม่ลูกก็พากันหาบทองคำมาถึงลำห้วยอีกแห่งหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกดงอู่ผึ้ง จึงพักผ่อนดื่มน้ำเอาแรง คันธนามตั้งชื่อลำห้วยนั้นว่า ห้วยแจระแม อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเมืองอุบลราชธานีในปัจจุบันนั่นเอง

 

สรุป 

ตำนาน พื้นบ้าน ท้าวคันธนาม วัดขุมคำ จ.อุบลราชธานี ตำนานท้าวคันธนามเป็นตำนาน พื้นบ้านที่มีมาอย่างยาวนาน หากท่านใดได้มีโอกาสไปเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี ก็อย่าลืมแวะไปกราบไหว้ขอพรกับพระเจ้าใหญ่ขุมคำ และไปเยี่ยมชมที่มาของตำนาน พื้นบ้านท้าวคันธนามกันด้วยนะคะ

ก่อนจากกันวันนี้ ยังมีเรื่องราวที่เกี่ยว โชคลาภ ให้ท่านได้อ่าน