ตำนานบั้งไฟพญานาค มหัศจรรย์ริมฝั่งโขง
บั้งไฟพญานาค เทศกาลความเชื่อของผู้คนริมฝั่งโขง ประเพณีที่มีชื่อเสียงสร้างรายได้จำนวนมหาศาลทุกๆปีในวันออกพรรษาให้กับจังหวัดหนองคาย ปรากฎการณ์ที่น่ามหัศจรรย์นี้มีความเป็นมา และมีตำนานความเชื่ออย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
นงน้อย.com เว็บอัพเดพข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องโชคลาภ
บั้งไฟพญานาค คืออะไร
บั้งไฟพญานาค ในอดีตชาวบ้านในจังหวัดหนองคายเรียกว่า “ บั้งไฟผี ”โดนจะมีลักษณะเป็นเป็นดวงไฟขนาดเท่าลูกแก้วไปจนถึงขนาดเท่าผลส้มพุ่งขึ้นจากแม่น้ำโขงในเวลากลางคืนทำให้มีแสงสว่าง ไม่มีกลิ่น ควัน หรือสะเก็ด พอขึ้นไปประมาน 50 – 150 เมตร ก็หายไปชาวบ้านจึงตั้งชื่อให้ว่า บั้งไฟผี แต่ในต่อมา ได้มีการตั้งชื่อให้มีความเป็นมงคลมากขึ้น จึงได้ตั้งชื่อว่า บั้งไฟ พญานาค โดยจะปรากฏขึ้นในทุกปีประมาณ 3 – 7 วัน ส่วนมากจะพบได้ที่จังหวัดหนองคาย หน้าวัดไทย และบ้านน้ำเป อำเภอโพนพิสัย วัดหินหมากเป้ง อ่างปลาบึก อำเภอสังคม และวัดอาฮง จังหวัดบึงกาฬ
บั้งไฟ พญานาค ทางหลักวิทยาศาสตร์
งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ กล่าวว่าการเกิดขึ้นของบั้งไฟ พญานาคนั้น คือ ก๊าซมีเทน – ไนโตเจน ที่เกิดจากแบคทีเรียความลึกที่ 4.55 – 13.40 เมตร ความลึกนั้นต้องมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และมีปริมาณออกซิเจนเพียงเล็กน้อย หากในวันที่เกิดปรากฏการณ์มีแดดส่องลงมาในเวลา 10.00 – 16.00 น. และมีความร้อนอยู่ที่ 26 องศาเซลเซียส จะทำให้สารอินทรีย์เกิดการย่อยสลาย เกิดมีก๊าซมีเทนที่เกิดจากการหมัก 3 – 4 ชั่วโมง ทำให้เกิดแรงดันก๊าซขึ้นมาบนผิวทรายจนโผล่ขึ้นมาจากน้ำ ฟองก๊าซที่โพล่ขึ้นด้วยความแรงเมื่อกระทบกับออกซิเจนในอากาศ บวกกับอุณหภูมิที่ต่ำของตอนกลางคืนทำให้ก๊าซเกิดติดไฟและได้กลายเป็นดวงไฟ ที่เรียกกันว่า “ บั้งไฟ พญานาค ”
ตำนานบั้งไฟ พญานาค
ตำนานพุทธประวัติกล่าวว่าครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ท่านได้เดินทางไปเผยแพร่ศาสนาทั่วชมพูทวีป เมื่อนางนาคี พญานาคที่มีนิสัยดุร้ายที่อาศัยอยู่ใต้บาดาลได้ขึ้นมาฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงเกิดความเลื่อมใสและความศรัทธา นางนาคีจึงได้แปลงกายเป็นชายเพื่อขอบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า แต่ในต่อมาคืนหนึ่งเมื่อนางนาคีได้เผลอหลับจึงทำให้ร่างกายกลับสู่ร่างเดิม เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่องจึงขอให้นางลาสิกขา เนื่องจากสัตว์เดรัจฉานนั้นไม่สามารถบวชเป็นพระได้ อีกทั้งยังเป็นสตรี พญานาคีจึงยอมทำตามคำขอ แต่ได้ขอให้บุตรชายทั้งบวชที่กำลังจะบวชให้ใช้คำว่า “ นาค’’ เพื่อให้เกียรติศักดิ์ศรีต่อพญานาคก่อนเข้าโบสถ์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมื่อบุตรชายกำลังจะบวช จึงได้เรียกว่า “ พ่อนาค ’’ และในต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับมาสู่โลก เหล่านาคี นาคเทวี ทั้งหลายจึงได้ทำเครื่องบูชา โดยการพ้นไฟขึ้นไปบนผิวน้ำ และทำเช่นนี้ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า จึงได้มีการเรียกสิ่งนั้นว่า “ บั้งไฟ พญานาค ”
งานประเพณีบั้งไฟ พญานาค
งานนี้จะถูกจัดขึ้นพร้อมกับประเพณีออกพรรษาคือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ในทุกปี ภายในงานยังมีกิจกรรมเก่าแก่นั้นก็คือ การไหลเรือไฟ ประเพณีในแถบลุ่มน้ำโขงที่สืบต่อกันมาอย่างนาวนานในวันออกพรรษา โดยทำขึ้นมาจากต้นกล้วย หรือท่อนไม้ แต่ในปัจจุบันได้ใช้เรือจริงๆในการไหล ภายในเรือจะบรรจุด้วยเครื่องบูชา ธูปเทียน ขนม หมากพลู เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้คือการบูชาพระพุทธเจ้าและนาค นักท่องเที่ยวนอกจากจะพากันมาชม บั้งไฟ พญานาค แล้วยังมารอชมการไหลเรือไฟที่มีการตกแต่งให้สวยขึ้นในทุกๆปี อีกทั้งยังมีการแสดง แสงสีเสียงและกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย ถือว่าสร้างรายได้ให้กับชุมชนในจังหวัดหนองคายได้เป็นจำนวนมหาศาลกันเลยทีเดียว
สรุป
บั้งไฟ พญานาค แม้ในปัจจุบันนี้จะมีหลักการวิทยาศาสตร์ออกมายืนว่าเป็นเพียงก๊าซมีเทน แต่ความเชื่อของชาวบ้านในลุ่มแม่น้ำโขง และคนอีสานที่มีต่อพญานาคและบั้งไฟ พญานาคก็ยังไม่หมด ทุกคนยังเชื่อและศรัทธาจึงได้มีการจัดประเพณีบั้งไฟ พญานาคขึ้นในทุกเมื่อถึงช่วงวันออกพรรษา หากท่านใดได้ผ่านไปเที่ยวจังหวัดหนองคายในช่วงออกพรรษา ก็อย่าลืมแวะไปดูบั้งไฟ พญานาคกันด้วยนะคะ
ยังมีเรื่องราวความเชื่ออื่นๆอีกมากซึ่งท่านสามารถติดตามที่จากเว็บนี้