ตำนานทุ่งกุลาร้องไห้ อิทธิฤทธิ์พญานาค ทะเลสาบ สู่ทุ่งหญ้าแห้งแล้ง

ตำนานทุ่งกุลาร้องไห้ อิทธิฤทธิ์พญานาค ทะเลสาบ สู่ทุ่งหญ้าแห้งแล้ง

ถ้าพูดถึงทุ่งกุลาร้องไห้เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักไม่มากก็น้อย เพราะสถานที่นี้เป็นสถานที่ที่มีความแห้งแล้งที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ แต่เชื่อหรือไม่ว่ามีตำนานที่พูดถึงทุ่งกุลาร้องไห้ว่าเคยเป็นท้องทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาลมาก่อน และตรงจุดนี้มีเรื่องราววุ่นวายจากทั้งมนุษย์ ผี พญานาคหรือแม้แต่เทวดา เกิดขึ้นในสถานที่ตรงนี้ และในบทความนี้จะพาทุกท่านมารู้จักกับตำนานของพื้นที่ที่ได้ชื่อว่าแห้งแล้งที่สุดในประเทศไทย ซึ่งนั่นก็คือทุ่งกุลาร้องไห้นั่นเอง

นงน้อย.com เว็บอัพเดพข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องโชคลาภ 

ตำนานทุงกุลาร้องไห้

ทุ่งกุลาร้องไห้สถานที่ที่ได้ชื่อว่าแห้งแล้งที่สุดในประเทศไทย มีตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมานานว่า เมื่อหลายพันปีก่อนทุ่งโล่งกว้างใหญ่แห่งนี้เคยเป็นทะเลสาบยาวสุดลูกหูลูกตาเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิดมาก่อน และรอบทะเลสาบแห่งนี้มีเมืองสำคัญสำคัญอยู่สองเมืองตั้งอยู่คนละฟากฝั่งของทะเลสาบ โดยทิศตะวันตกของทะเลสาบจะเป็นที่ตั้งของเมืองจำปาขันหรือเมืองจำปานาคบุรี ซึ่งปัจจุบันก็คือตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนทางทิศตะวันออกของทะเลสาบจะเป็นที่ตั้งของเมืองที่ชื่อว่าบูรพานคร ซึ่งเมืองจำปาขันเป็นเมืองที่มีพญานาคคอยคุ้มครองดูแลอยู่หนึ่งฝูงเป็นพญานาคที่มีฤทธิ์มาก หากชาวเมืองได้รับความเดือดร้อนหรือเกิดศึกสงครามขึ้นพญานาคก็จะให้ความช่วยเหลือทุกอย่าง กษัตริย์ผู้ครองเมืองจำปาขันมีพระธิดาอยู่หนึ่งคน นามว่านางแสนศรี แล้วก็มีหลานสาวอีก 1 คนชื่อว่าคำแพงทั้งสองนั้นมีรูปร่างหน้าตางดงามราวกับนางอัปสรบนสวรรค์ เป็นที่โปรดปรานของพระราชามาก พระราชาจึงมอบหมายให้จ่าแอ่น คอยติดตามดูแลทั้งสองคนตลอด 24 ชั่วโมงไม่ว่านางทั้งสองจะไปที่ใดจ่าแอ่นก็ต้องติดตามไปทั่วทุกหนทุกแห่ง ส่วนเมืองบูรพานครที่ตั้งอยู่อีกฝั่งของทะเลสาบนั้น กษัตริย์ผู้ครองนครก็มีโอรส 1 คนชื่อท้าวฮาดคำโปง และก็มีหลานชายอีก 1 คนชื่อว่าเท้าอุทร ซึ่งทั้งสองได้เล่าเรียนในสำนักเดียวกันมีอาจารย์ที่เก่งมาก เมื่อเวลาที่จะทดสอบว่าลูกศิษย์สำเร็จวิชาที่เราเรียนมาแล้วหรือยังจะทดสอบโดยการให้เป็นสู้รบประลองฝีมือกับพญานาค เพราะพญานาคมีฤทธิ์มากถ้าสามารถเอาชนะพญานาคได้หมายความว่าสำเร็จวิชาที่เราเรียนมาแล้วนั่นเอง

ตำนานทุ่งกุลาร้องไห้ อิทธิฤทธิ์พญานาค ทะเลสาบ สู่ทุ่งหญ้าแห้งแล้ง

ออกเดินทาง

เมื่อทั้งสองเรียนจบจึงพากันออกเดินทางไปยังเมืองจำปานาขัน เพื่อไปลองวิชากับฝูงพญานาคที่คอยดูแลเมืองนั้นอยู่ ทั้งสองออกเดินทางไปในทะเลสาบด้วยเรือสำเภาเมื่อใกล้จะถึงเมืองจำปานาขัน ทั้งสองก็ได้เจอกับนางแสนศรีและคำแพง ลูกสาวกับหลานสาวของเจ้าเมือง ทันใดที่ทั้งสองจะมุ่งหน้าไปสู้รบกับพญานาค เพื่อทดสอบวิชาทั้งสองจึงได้เปลี่ยนเป้าหมาย และหาวิธีพิชิตใจสาวงามทั้งสองแทน แต่ก็มีอุปสรรคอยู่เพราะว่านางแสนศรีและคำแพงมีจ่าแอ่นคอยดูแลอย่างเข้มงวด การที่จะเข้าไปพูดคุยแทบจะเป็นไปไม่ได้ แต่ท้าวทั้งสองทราบมาว่าในทุกๆ 7 วัน 5 แสนศรีและคำแพงจะพาบ่าวไพร่และผู้ดูแลออกไปเล่นน้ำในทะเลสาบอย่างน้อย 1 ครั้ง จึงคิดว่าจะใช้วิชาที่ร่ำเรียนมาหาอุบายล่อลวงให้มีโอกาสเข้าใกล้ถึงนางทั้ง 2 จนวันหนึ่งเมื่อนางแสนศรีและคำแพงพร้อมด้วยบริวาร และก็จ่ายแอ่นได้ออกมาพายเรือเล่นน้ำในทะเลสาบ ท้าวทั้งสองจึงเศษผ้าเช็ดหน้าให้กลายเป็นหงส์ทองลอยน้ำไปหน้าเรือของนางทั้งสอง เมื่อนางทั้งสองเห็นหงส์ทองลอยน้ำมา ก็คิดว่าอยากจะได้มาเลี้ยงจึงให้จ่าแอ่นพายเรือตามจับหงส์ทอง แต่ยิ่งตามก็ยิ่งห่างออกไปไกลมากขึ้นเท่านั้น จนเรือของพวกเขาลอยออกไปอยู่กลางทะเลสาบ เมื่อท้าวทั้งสองได้โอกาสดีจึงได้นำเรือสำเภาของตนเข้าไปแล้วก็ลักเอาตัวนางทั้งสอง พร้อมด้วยบริวารขึ้นเรือสำเภาแล่นออกไปกลางทะเลสาบเมื่อเจ้าเมืองจำปานาขัน ได้ทราบข่าวว่าพระธิดาและหลานสาวสุดที่รักหายตัวไป จึงใช้ให้มหาดเล็ก ไปตีกลองชัยราวกับว่าเกิดศึกสงครามขึ้น เพื่อเรียกให้พญานาคที่เป็นสหายขึ้นมาช่วยโดยเร็วนั่นเอง

 

พญานาคแห่งเมืองจำปานาขัน

เมื่อพญานาคได้ยินเสียงกลองศึกของเจ้าเมืองจำปานาขัน จึงได้จะดกองทัพขึ้นมายังเมือง แต่พอขึ้นมาแล้วกลับไม่เจอข้าศึกสักคน พญานาคจึงสอบถามกับเจ้าเมืองว่าเหตุใดจึงตีกลอง เจ้าเมืองจึงบอกว่าพระธิดาและหลานสาวของตน ถูกลักพาตัวไปในทะเลสาบโดยผู้ที่มีวิชาเก่งกล้าสองคน ขอให้ท่านพญานาคช่วยด้วย เมื่อพญานาคได้ยินเช่นนั้นจึงบันดาลให้ทะเลสาบอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้แห้งเหือดในทันที ซึ่งเรือสำเภาที่กำลังแล่นในทะเลสาบ เมื่อน้ำในทะเลสาบหายเรือก็ไปต่อไม่ได้ทั้งสองไม่รู้จะทำยังไง จึงนำเอานางแสงศรี คำแพงและก็จ่าแอบซ่อนไว้ในดงไม้แยกกัน 3 แห่งซึ่งปัจจุบัน ทั้งสามแห่งนั้นก็คือ ดงแสนสีรีหรือบ้านแสนสีในเขตอำเภอเกษตรวิสัยจังหวัดร้อยเอ็ด ดงจ่าแอ่นหรือบ้านจ่าแอ่น อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด และดงป่าหลาน ซึ่งได้กลายมาเป็นที่ตั้งของอำเภอบ่าหลาน หรืออำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคามในปัจจุบันนั่นเอง หลังจากที่ท้าวทั้งสองได้นางแสนศรีและนางคำแพงมาแล้ว ทั้งสองก็เคยขัดใจกันตกลงกันไม่ได้เพราะหลงรักนางแสนศรีเหมือนกัน ทั้งสองจึงตัดสินปัญหาด้วยการรบกันซึ่งผลปรากฏว่าท้าวฮาดคำโปงเป็นฝ่ายแพ้ และถูกฟันคอจนตายกลายเป็นผีหัวแสงหรือผีทุ่งศรีภมิคอยเฝ้าทุ่งกุลา ร้องไห้ สร้างความหวาดกลัวให้กับผู้คนจนไม่มีใครกล้าออกจากบ้านในตอนกลางคืนเพราะว่ากลัวผีหัวแสง เมื่อเจ้าเมืองจำปานาขันทราบเรื่องดังกล่าวก็นึกสงสาร เลยให้อภัยโทษและประธานไพร่พลให้ท้าวอุทรเพื่อไปสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ และได้ยกนางแสนศรีให้เป็นมเหสีด้วยนั่นเอง

 

เผ่ากุลา

หลังจากที่ทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาลได้กลายเป็นท้องทุ่งกว้างใหญ่แล้ว เวลาก็ได้ร่วมผ่านเนิ่นนานมาหลายชั่วอายุคนจนเมื่อหลายร้อยปีก่อน มีพ่อค้าพม่าเผ่าหนึ่งชื่อว่าเผ่ากุลา นำสินค้ามาเร่ขายโดยจะมาเป็นหมู่คณะคราวละ 20-30 คนสินค้าที่พวกเขานำมาขาย จะเป็นสีย้อมผ้า เสื้อผ้า ยาสมุนไพร เครื่องถมเป็นต้น ซึ่งชาวกุลาจะนำสินค้าใส่ถังใบใหญ่ที่เรียกว่าถังกระเทียว ใส่สินค้ามาแล้วก็มาหาเร่ขาย ซึ่งการมาแต่ละครั้งเขาจะอยู่จนกว่าสินค้าจะหมด กระทั่งมีอยู่ครั้งหนึ่งพวกชาวกุลาที่หาบเร่ขายสินค้ามาจากจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษเรื่อยมาจนถึง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งพวกกุล่า กลุ่มนี้ก็ได้ซื้อครั่งไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อจะนำไปขายต่อที่เมืองป่าหลา แต่พอหาบสินค้าข้ามแม่น้ำมูลมาถึงทุ่งกว้างใหญ่ พวกกุลาก็มองเห็นเมืองป่าหลายอยู่ใกล้ๆ คิดว่าคงเจอทางลัดแล้ว พวกเขาจึงเดินลัดตรงขึ้นเหนือไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นทางที่พวกกุลากลุ่มนี้ยังไม่เคยมา จึงทำให้ไม่รู้ระยะทางที่แท้จริงเพียงแต่พวกเขาอย่ามองเห็นเมืออยู่ไกลๆเลยคิดว่ามันคงใกล้เหมือนตาเห็น แต่มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น ในขณะที่เดินข้ามทุ่งอยู่พวกกุลา ก็หมดแรงที่จะเดินต่อเพราะเป็นช่วงฤดูแล้ง น้ำดื่มไม่มี ต้นไม้ให้อาศัยร่มเงาก็ไม่มีแม้แต่คนเดียว ทำให้พวงเขานั่งร้องไห้ครวญว่าสงสัยคงเอาชีวิตมาทิ้งแล้วแน่นอน แต่พวงเขาก็พากันเดินทางต่อไปโดยพวกเขาได้ทำการลดน้ำหนักสินค้าลงด้วยการเทครั่งน้อยของที่ขายไม่ได้ราคาทิ้งไปบ้าง เพื่อให้ของที่ต้องขนไปเบาลงขึ้นอีกตรงจุดนั้นเอง ก็กลายเป็นหมู่บ้านที่ชื่อว่าบ้านดงครั่งน้อย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด สักพักพวกกุลาก็ขนของต่อไปไม่ไหว พวกเขาจึงทิ้งคลั่งใหญ่ที่ขายได้ราคาดีทั้งหมดทิ้งไป เหลือไว้เฉพาะอาหารเท่านั้น ที่พวกกุลาเทครั่งใหญ่ทิ้งต่อมาก็กลายเป็นหมู่บ้านดงครั่งใหญ่ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด และหลังจากที่พวกกุลาเดินทางผ่านทุ่งกว้างใหญ่ จนเข้าสู่บ้านแล้วพวกเขาก็พบว่าคนในหมู่บ้านต่างมามุงรองเพื่อซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก แต่พวกกุลากลับไม่มีสินค้าที่จะขายให้ชาว พวกกุลาจึงเสียใจและเสียดายสินค้าที่เททิ้งไปกลางทุ่ง พวกกุลาจึงร้องไห้อีกครั้งจนกลายเป็นที่มาของชื่อทุ่งกุลา ร้องไห้จวบจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

 

สรุป 

ตำนานทุ่งกุลา ร้องไห้เป็นตำนานที่ถูกเล่ามานานตั้งแต่อดีตว่า แต่ก่อนพื้นที่ตรงนี้เป็นทะเลสาบกว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์อย่างมาก แต่เกิดเรื่องราวต่างๆมากมายทั้งเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ พญานาค หรือแม้แต่เทพเทวดา จนทำให้เกิดอาเพศพื้นที่ตรงนี้เลยแห่งแล้ง จนมีเผ่าที่มีชื่อว่าเผ่ากุลานำของมาขายแต่การที่จะเดินผ่านทุ่งนี้ ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายบวกกับของที่นำมาขายค่อยข้างเยอะ ทำให้ทั้งหมดต้องทิ้งของที่นำมาและได้นั่งร้องไห้คร่ำครวญเสียดายของที่ทิ้งไป จนกลายมาเป็นที่มาของทุ่ง กุลาร้องไห้นั่นเอง

ก่อนจากกันวันนี้ ยังมีเรื่องราวที่เกี่ยว โชคลาภ ให้ท่านได้อ่าน