ตำนานความเชื่อเรื่องนางสงกรานต์

ตำนานความเชื่อเรื่องนางสงกรานต์

หากพูดถึงวันสงกรานต์นอกจากการเล่นน้ำปะแป้งแล้ว อีกหนึ่งอย่างที่เป็นจุดเด่นคือการประกวดนางสงกรานต์ และการประกาศว่านางสงกรานต์แต่ละปีคือใคร มีคำทำนายว่าอย่างไร แต่ทุกคนสงสัยกันหรือไม่ว่าทำไมวันสงกรานต์ถึงต้องมีการจัดประกวด หรือต้องมีคำนายของนางสงกรานต์ในแต่ละปี  ในบทความนี้มีคำตอบ

 

ตำนานประวัตินางสงกานต์ 

นางสงกรานต์คือธิดาทั้ง 7 ของท้าวกบิลพรหม ที่ได้ประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นที่ 1 หรือชั้นจาตุมหาราช ในตำนานวันสงกรานต์ ท้าวกบิลพรหมได้ท้าพนันทายปัญหากับธรรมบาลกุมาร ซึ่งต่อมาก็ทำให้ท้าวกบิลพรหมแพ้ให้กับธรรมบาลกุมาร เมื่อแพ้พนันท้าวกบิลพรหมจึงต้องยอมให้ตัดเศียรของตน แต่ท้างกบิลพรหมนั้นเป็นเทพที่มีฤทธิ์มาก หากตัดศีรษะแล้วตกลงบนพื้นดินจะทำให้เกิดแผ่นดินไหว ไฟลุกไหม้ทั้งโลก หากโยนขึ้นบนอากาศจะทำให้เกิดความแห้งแล้ง ท้องฟ้าปราศจากฟ้าฝน และหากเมื่อทิ้งลงในมหาสมุทรจะทำให้น้ำมหาศาลเหือดแห้ง ก่อนจะถูกตัดหัวท้าวกบิลพรหมจึงได้สั่งความให้ธิดาทั้ง 7 นำพามารองรับศีรษะของตน เมื่อถูกตัดศีรษะแล้วนางทุงษธิดาองค์แรกได้นำศีรษะของบิดา ไปแห่รอบเขาพระสุเมรุโดยจะเวียนจากด้านขวา 60 นาที และจึงให้อัญเชิญไปไว้ในมณฑปในถ้ำคันธุรลี เขาไกรลาส ให้บูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่างๆ อีกทั้งยังให้แห่เช่นนี้ในทุกปี โดยการแห่นี้จะตรงกับวันสงกรานต์ของโลกมนุษย์ คือวันที่ 13 เมษายน จะให้ธิดาแต่ละองค์เวียนกันแห่พระเศียรในแต่ละปี โดยกำหนดให้เมื่อถึงวันที่ 13 เมษายน ของแต่ละปีตรงกับวันใด ให้ธิดาประจำวันนั้นเป็นคนแห่พระเศียรรอบเขาสุเมรุแล้วจึงกลับไปยังเทวโลก

นงน้อย.com เว็บอัพเดพข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องโชคลาภ 

นางสงกรานต์ทั้ง 7 องค์

  1. นางสงกรานต์ทุงษะเทวี จะทัดดอกทับทิมไว้บนศีรษะ มีแก้วทับทิมเป็นเครื่องประดับ พระหัตถ์ด้านขวาถือจักร พระหัตถ์ด้านซ้ายถ่อสังข์ ประทับอยู่เหนือครุฑ อาหารที่เสวยเป็นประจำ คือ อุทุมพร หรือ มะเดื่อ เป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ 
  2. นางสงกรานต์โคราคะเทวี ทัดดอกปีปบนศีรษะ มีไข่มุกเป็นเครื่องประดับ พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ (ดาบสองคม) พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า ประอยู่เหนือเสือ อาหารที่เสวยเป็นประจำ คือ เตละ หรือ น้ำมัน เป็นนางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ 
  3. นางสงกรานต์รากษสเทวี ทัดดอกบัวบัวศีรษะ มีหินเป็นเครื่องประดับ พระหัตถ์ขวาถือตรีศูล (หลาวสามง่าม) พระหัตถ์ซ้ายถือธนู อาหารที่เสวยเป็นประจำ คือ เลือด ประทับบนหลังวราหะ หรือ หมู เป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร
  4. นางสงกรานต์มณฑาเทวี ทัดดอกจำปาบนศีรษะ มีพลอยสีเหลืองแกมเขียวเป็นเครื่องประดับ พระหัตถ์ขวาถือเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า อาหารที่เสวยเป็นประจำ คือ นมและเนย ประทับเหนือลา เป็นนางสงกรานต์ประจำวันพุธ
  5. นางสงกรานต์กิริณีเทวี ทัดดอกยี่หุบบนศีรษะ มีมรกตเป็นเครื่องประดับ พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ (ดาบสองคม) พระหัตถ์ซ้ายถือปืน อาหารที่เสวยเป็นประจำ คือ ถั่วและงา ประทับเหนือบนหลังช้าง เป็นนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี
  6. นางสงกรานต์กิมิทาเทวี ทัดดอกจงกลนีบนศีรษะ มีบุษราคัมเป็นเครื่องประดับ พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์(ดาบสองคม) พระหัตถ์ซ้ายถือพิณ อาหารที่เสวยเป็นประจำ คือ กล้วยและน้ำ ประทับยืนเหนือควาย เป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์
  7. นางสงกรานต์มโหทรเทวี ทัดดอกผักตบชวาบนศีรษะ มีนิลรัตน์เป็นเครื่องประดับ พระหัตถ์ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือตรีศูล (หลาวสามง่าม) อาหารที่เสวยเป็นประจำ คือ เนื้อทราย ประทับเหนือนกยูง เป็นนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ 

ตำนานความเชื่อเรื่องนางสงกรานต์

คำทำนาย นางสงกรานต์

เมื่อถึงวันสงกรานต์จะมีคำทำนายของนางสงกรานต์ในแต่ละปี คำทำนายนั้นจะขึ้นอยู่กับอิริยาบถของนางสงกรานต์ จะมีอยู่ 4 ท่า อันบ่งบอกถึงว่าพระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษเวลาไหนของวันสงกรานต์ โดยมีท่าดังนี้

  1. ยืนมาบนพาหนะ คือ พระอาทิตย์ยกสู่ราศีเมษในระหว่างเวลารุ่งเช้าจนถึงเที่ยง 

มีคำทำนายว่าจะเกิดความเดือดร้อนเจ็บไข้

  1. นั่งมาบนพาหนะ คือ ช่วงเที่ยงจนถึงค่ำ 

มีคำทำนายจะเกิดความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตายและเกิดเหตุเภทภัยต่างๆ

  1. หากนอนลืมตามาบนพาหนะ คือ ช่วงค่ำไปจนถึงเที่ยงคืน 

มีคำทำนายว่าประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข

  1. หากนอนหลับตามาบนพาหนะคือ เที่ยงคืนไปจนถึงรุ่งเช้า 

มีคำทำนายว่าพระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี

สรุป

นางสงกรานต์ทั้ง 7 องค์ เป็นผู้ที่ได้รับหน้าที่ในการแห่ศีรษะของท้าวกบิลพรหมแห่รอบเขาสุเมรุ ซึ่งตรงกับวันที่ 13 เมษายน ซึ่งเป็นวันสงกรานต์ของทุกปี และอิริยาบถของนางสงกรานต์นั้นนำมาซึ่งคำทำนายความเป็นอยู่ของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ในวันสงกรานต์แต่ละปีผู้คนจึงได้รอคำทำนายจากอิริยาบถของนางสงกรานต์ และการประกวดนางสงกรานต์ก็เป็นอีกหนึ่งสีสันของวันสงกรานต์อีกด้วย

ก่อนจากกันวันนี้ ยังมีเรื่องราวที่เกี่ยว โชคลาภ ให้ท่านได้อ่าน