ความเชื่อเรื่องเหรียญโปรยทาน ในงานพิธี งานบวช งานศพ 

ความเชื่อเรื่องเหรียญโปรยทาน ในงานพิธี งานบวช งานศพ 

ทุกครั้งที่เราไปร่วมงานบุญต่างๆ โดยเฉพาะงานบวช มักจะมีการโปรยทานเข้ามาเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญของพิธี ทุกคนเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า เหตุใดงานบวชจึงต้องมีการโปรยทานให้กับผู้ที่มาร่วมงาน วันนี้เราไปหาคำตอบพร้อมๆกันได้ในบทความนี้กันเลยค่ะ

อัพเดทเว็บข่าวสารที่เกี่ยวกับโชคลาภที่ดีที่สุดสำหรับคุณ นงน้อย.com

 

ประวัติความเป็นมา เหรียญโปรยทาน

เมื่อในอดีตมีความเชื่อกันว่าพระพุทธเจ้าทรงสละราชย์สมบัติแล้วออกผนวช โดยที่ท่านไม่มีความปรารถนาที่จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินอีกต่อไป จึงทรงสละทรัพย์สมบัติ เงินทองมากมายให้แก่ผู้ยากไร้โดยไม่หวังผลตอบแทน การโปรยทาน จึงหมายถึง การสละทรัพย์สมบัติ เงินทองให้เป็นทานแก่ผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน โดยให้ยืดถือคติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสละราชย์สมบัติเมื่อตอนออกผนวช ดังนั้นการโปรยทานก่อนเข้าโบสถ์ของนาค จึงเป็นการแสดงว่านาคได้สละสมบัติของตนทุกอย่างแล้ว เพื่อให้ดำเนินชีวิตขณะบวชเป็นไปตามแบบอย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกทั้งการโปรยทานยังเป็นการสอนให้มนุษย์รู้จักเสียสละ แบ่งปันโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น และการโปรยทานในพิธีบวชนั้นจะมีหรือไม่มีก็ได้ เนื่องจากไม่ใช่ข้อกำหนดตายตัว ในพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับการบวช ถึงไม่มีการโปรยทานก็บวชสำเร็จเป็นพระได้เช่นกัน

เหรียญสำหรับโปรยทานในปัจจุบันทำขึ้นเพื่อใช้ในพิธีต่างๆ หรือใช้เป็นของที่ระลึกสำหรับแจกคนในงาน เช่น งานบวช งานศพ และงานแต่ง เป็นต้น  ในวัฒนธรรมของไทยในอดีตพิธีบวชนาคก่อนนาคก่อนจะบวชเป็นพระต้องมีการโปรยทานก่อนเข้าโบสถ์ แต่ไม่ได้มีการห่อเหรียญ ทำให้เมื่อโปรยแล้วผู้รอเก็บหาเหรียญที่โปรยมาไม่เจอ หากเจอเมื่อเก็บเข้ากระเป๋าสตางค์ทำให้รวมไปกับเหรียญอื่นๆ ได้ จึงต้องมีการห่อเหรียญขึ้นมาในรูปแบบการห่อเหรียญโดยใช้ กระดาษแก้ว ริบบิ้นที่มีสีสันต่างๆ เป็นต้น 

 

ความเชื่อ การทำบุญด้วย เหรียญโปรยทาน

 

1. หากทำเหรียญสำหรับโปรยทานเองจะได้บุญมากกว่า

มีความเชื่อที่ว่า หากผู้ที่ทำเหรียญสำหรับโปรยทานเองจะได้บุญมากกว่า แต่แท้จริงแล้วไม่ว่าคุณจะทำเองหรือจ้างให้ผู้อื่นทำ ก็ย่อมเป็นการทำบุญเช่นกัน เพราะบุญที่ได้อยู่ที่เจตนาและจิตของผู้ที่ทำบุญ

2. ความเชื่อที่ว่ายิ่งโปรยทานมาก ยิ่งได้บุญมาก

ยิ่งโปรยทานมากเท่าไหร่ยิ่งได้บุญมากเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วบุญนั้นขึ้นอยู่กับแรงกำลังที่แต่ละคนมีมากกว่า ผลบุญที่จะได้อยู่ที่แรงจิตและเจตนา ถ้าเราทำด้วยใจที่อยากให้ แม้จะน้อยก็ได้บุญมากได้เช่นกัน 

ความเชื่อเรื่องเหรียญโปรยทาน ในงานพิธี งานบวช งานศพ 

3. การโปรยทานเป็นการทำบุญแบบไม่หวังผล

การโปรยทาน เป็นวิธีการทำทานแบบหนึ่งที่เรียกได้ว่า เป็นการทำบุญแบบไม่หวังสิ่งตอบแทนกลับมาโดยแท้จริง เพราะผู้ที่ทำโปรยทานนั้นจะต้องทำด้วยใจที่บริสุทธิ์และตัดกิเลสเรื่องเงินทองได้แล้ว จึงจะมาแจกได้ 

4. เหรียญ โปรยทานสามารถใช้ในงานบุญต่าง ๆ ได้

การทำบุญโปรยทาน ส่วนใหญ่นิยมจัดใน 2 พิธี นั้นก็คือ งานบวช และงานศพ แต่ในปัจจุบัน แม้แต่ในงาน งานทอดฝ้าป่า งานบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทอดกฐินและอื่นๆ ก็มีการโปรยทาน ซึ่งถือว่าสามารถทำได้ไม่ผิดประเพณี เนื่องจากการโปรยทานถือเป็นการทำทานบารมีให้แก่ตน จะทำในโอกาสไหนก็ได้

5. ควรเก็บเหรียญที่ได้มาไว้เพื่อเป็นสิริมงคล

บางความเชื่อก็มีว่าเงินโปรยทานที่เราได้มา ห้ามนำไปจับจ่ายซื้อ แต่ควรเก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลต่อตนเอง เหรียญนั้นจะสามารถนำโชคลาภและสิ่งดี ๆ มาให้คุณได้อีกด้วย

6. สำหรับงานศพ

สำหรับงานศพสีริบบิ้นที่ใช้ส่วนมากเป็นสีขาว สีดำ การโปรยทานในงานศพ เป็นความเชื่อที่มาแต่โบราณ เมื่อคนในครอบครัวล่วงลับไป หลังจากงานเผาศพ ลูกหลานที่ไม่อยากให้วิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปเร่ร่อน จึงมีการขอซื้อทางกับเจ้าที่ด้วยการโปรยทานให้ดวงวิญญาณผ่านไปได้ไม่ติดขัด และแขกที่ไปร่วมงานสามารถนำเหรียญที่เก็บได้ไปทำบุญต่อเพื่ออุทิศบุญกุศลให้ผู้ล่วงลับ ก็จะได้บุญกุศลนี้ไปด้วย

 

สรุป 

ความเชื่อเรื่องเหรียญ โปรยทาน ในงานพิธี งานบวช งานศพ ถือได้ว่าเป็นการทำบุญที่ไม่หวังสิ่งตอบแทน ต้องเป็นการทำด้วยความบริสุทธิ์ใจที่จะสละทรัพย์สมบัติตามคติของพระพุทธเจ้า อีกทั้งการโปรยทานนี้สามารถทำได้ทั้งใน งานบวช งานศพ และพิธี หรืองานบุญต่างๆได้อีกด้วย

ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ ตำนาน ความเชื่อ และโชคลาภอีกมากมาย ท่านสามารถติดตามที่จากเว็บนี้