กำเนิดช้างเอราวัณ พาหนะของพระอินทร์

กำเนิดช้างเอราวัณ พาหนะของพระอินทร์

ถ้าพูดถึงช้างเอราวัณเชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินเรื่องราวนี้มาไม่มากก็น้อย เพราะช้างเอราวัณมักจะมีปรากฏอยู่ตามจิตรกรรมฝาผนัง ที่เล่าเกี่ยวกับพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า รวมไปถึงนิทานชาดกก็มีการพูดถึงช้างเอราวัณอยู่มากมาย ซึ่งบางคนน่าจะสงสัยว่าช้างเอราวัณคืออะไรแล้วมีที่มาที่เป็นอย่างไร และในบทความนี้จะมาเล่าถึงเรื่องราวและการกำเนิดของช้างเอราวัณ ที่ได้ถูกขนานามว่าเป็นพญาช้างทั้งปวง ซึ่งติดตามได้ในบทความนี้นั่นเอง

ในส่วนของวันนี้ ก่อนจะไปกันต่อในบทความ ขอเสนอ นงน้อย.com เว็บอัพเดพข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องโชคลาภ

ประวัติช้างเอราวัณ

ช้างเอราวัณเป็นช้างที่ใหญ่ที่สุด และเป็นเจ้าแห่งช้างทั้งปวงในสากลจักรวาลเป็นพาหนะของพระอินทร์ สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ มีหน้าที่สำคัญคือเป็นพาหนะที่นำเสด็จพระอินทร์ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั้งบนสวรรค์และโลกมนุษย์ เพื่อดูแลทุกข์สุขของชาวโลก เป็นช้างศึกให้พระอินทร์ออกไปทำการรบกับพวกอสูร ทำหน้าที่ดูแลโลกทางด้านทิศตะวันออกควบคู่กับพระอินทร์ และเนื่องจากพระอินทร์ทรงเป็นหัวหน้าของเทพที่คอยควบคุมดูแลดินฟ้าอากาศ มีวัชระสายฟ้าเป็นอาวุธ เป็นศัตรูกับความแห้งแล้ง และเป็นผู้บันดาลความอุดมสมบูรณ์ ความชุ่มฉ่ำสู่โลกมนุษย์ ช้างเอราวัณจึงมีหน้าที่ดูดน้ำจากโลก ขึ้นไปบนสวรรค์เพื่อให้พระอินทร์บันดาลให้เกิดน้ำจากฟ้าตกลงสู่โลกมนุษย์ 

 

ความเชื่อทางศาสนาฮินดู

ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ช้างที่คอยดูแลรับใช้พระอินทร์จะมีทั้งหมด 3 เชือกด้วยกัน ซึ่งได้แก่ ช้างคีรีเมขล์ไตรดายุค เป็นช้างที่พระพรหมเป็นผู้ประทานให้ อีกเชือกชื่อว่า ช้างเอกทันต์ เป็นช้างที่พระวิษณุเป็นผู้ประทานให้ ส่วนช้างเอราวัณ ตามคติความเชื่อของฮินดู เชื่อว่าพระศิวะเป็นผู้ประทานให้แก่พระอินทร์ ซึ่งช้างเอราวัณเป็นช้างที่มีพละกำลังมากที่สุดในบรรดาช้าง 3 เชือก และยังเป็นที่โปรดปรานมากที่สุดของพระอินทร์ ด้วยรูปลักษณ์ของช้างเอราวัณที่เราคุ้นเคยนั้น ส่วนใหญ่แล้วเราก็จะเห็นว่าเป็นช้างขนาดยักษ์ที่มี 3 เศียร ซึ่งจริงๆแล้ว ช้างเอราวัณเป็นช้างที่มีเศียรมากถึง 33 เศียร แต่เหตุที่ต้องใช้สามเศียรนั้นก็เพื่อที่จะให้รูปลักษณ์ทางศิลปะของช้างเอราวัณมีความสมดุล และดูสง่างามลงตัวนั่นเอง 

กำเนิดช้างเอราวัณ พาหนะของพระอินทร์

ลักษณะของช้างเอราวัณ

ในคัมภีร์ไตรภูมิกถาได้เล่าถึงขนาดอันใหญ่โตมโหฬารของช้างเอราวัณ เอาไว้ว่าเป็นช้างที่มีเศียรมากถึง 33 เศียร แต่ละเศียรมี 7 งา แต่ละงามีสระน้ำ 7 สระ แต่ละสระมีดอกบัวอยู่ 7 กอ แต่ละกอมีบัวอยู่ 7 ดอก บัวแต่ละดอกมีอยู่ 7 กลีบ และแต่ละกลีบจะมีเทพธิดาอยู่ 7 องค์ และเทพธิดาแต่ละองค์ก็จะมีนางฟ้าบริวารอยู่ถึงองค์ละ 7 นาง ซึ่งทั้งหมดนี่คือความใหญ่โตมโหฬารของช้างเอราวัณ ที่เป็นพาหนะของพระอินทร์และถูกขนานนามว่าพญาช้างของช้างทั้งปวงนั่นเอง

 

กำเนิดช้างเอราวัณ

ตำนานการเกิดของช้างเอราวัณ ก็มีอยู่หลายแบบด้วยกันซึ่งตามคติความเชื่อของฮินดูเชื่อกันว่าพระศิวะเป็นผู้ประทานช้างเอราวัณให้เป็นช้างทรงของพระอินทร์ หรือในตำนานกวนเกษียณสมุทร ก็ได้ระบุเอาไว้ว่าในขณะที่เทพกับอสูรกำลังผลัดกันฉุดกระชากร่างของพญานาควาสุกรี เพื่อกวนเกษียรสมุทรอยู่นั้น ได้มีของวิเศษผุดขึ้นมาถึง 14 อย่าง หนึ่งในนั้นก็คือช้างเผือกเอราวัณเป็นของวิเศษลำดับที่ 5 พระนารายณ์ ซึ่งเป็นประธานในพิธีกวนเกษียรสมุทร จึงได้ประทานช้างเอราวัณเป็นพาหนะของพระอินทร์ แต่ในคัมภีร์ไตรภูมิกถา ซึ่งเป็นคติความเชื่อของไทยส่วนใหญ่เชื่อกันว่าช้างเชือกนี้คือเทพบุตรองค์หนึ่ง ซึ่งพำนักอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นามว่าเอราวัณเทพบุตร เมื่อพระอินทร์ต้องการจะเสด็จไปไหนก็ตาม เอราวัณเทพบุตรก็จะแปลงกายเป็นช้างเผือกเป็นพาหนะให้แก่พระอินทร์ ซึ่งก่อนจะขึ้นมาเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์นั้น เอราวัณเทพบุตรเคยอาศัยอยู่บนโลกมนุษย์มาก่อน ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคณะที่มีชื่อว่าคณะ 33 โดยมีนายมฆะมานพ ซึ่งเขาได้รวบรวมสมัครพรรคพวกจำนวน 32 คน ร่วมกันทำกิจกรรมอาสาต่างๆอยู่เสมอคณะ 33 ได้รับความชื่นชมจากชาวบ้านเป็นอย่างมาก จนผู้นำหมู่บ้านเริ่มเขม่นไม่ชอบใจ จึงได้ไปฟ้องพระราชาว่าพวกคณะ 33 พากันสุมหัวเพื่อจะก่อกบฏ เมื่อพระราชาทราบเรื่องจากผู้ใหญ่บ้านก็ไม่ได้สอบสวนหาที่มาที่ไป กลับพิพากษาให้จับตัวนายมฆะมานพ และพวกมาลงโทษประหารชีวิตทันที โดยการส่งไปให้ช้างเพชฌฆาตกระทืบตาย แต่เรื่องไม่ได้เป็นอย่างที่คิดเพราะปรากฏว่า เมื่อนำตัวนายมฆะมานพ กับพวกไปให้ช้างกระทืบช้างเพชฌฆาตกลับไม่ยอมทำหน้าที่ของมัน ไม่ว่าจะทำยังไงก็ตามช้างเพชฌฆาตก็ไม่ยอมเข้าใกล้นายมฆะมานพกับเพื่อน เลยสร้างความแปลกใจให้กับพระราชาเป็นอย่างมากพอพระราชาเริ่มเอะใจ จึงให้สอบสวนความจริงเรื่องนี้อีกรอบ จนได้ทราบข้อเท็จจริงว่าพวกเขาไม่ได้คิดจะก่อกบฏ แต่เป็นการรวบรวมคนที่มีจิตเมตตามา เพื่อทำงานแก่ประโยชน์ส่วนรวมเท่านั้น พอพระราชาทราบความจริงก็ได้แต่งตั้งให้คณะ 33 ปกครองหมู่บ้านนั้นแทนผู้ใหญ่บ้านคนเดิม พร้อมกับยกช้างเพชฌฆาตเชือกดังกล่าวแถมให้ไปด้วย ซึ่งเป็นช้างที่แสนรู้มากๆ ช้างเพชฌฆาตเชือกดังกล่าวมักจะร่วมช่วยงานการกุศลต่างๆกับคณะ 33 อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่นเมื่อเวลาที่เขาสร้างศาลาเสร็จช้างเชือกนี้ก็จะมาคอยเฝ้าดูเวลาที่มีคนเข้ามานั่งลงในศาลา แล้วดูว่าเขาหย่อนก้นลงบนกระดานแผ่นที่มีสัญลักษณ์ของคณะ 33 คนไหน ช้างเชือกนี้ก็จะพาผู้มาเยือนท่านนั้นไปยังบ้านของเจ้าของกระดาน ให้เจ้าของกระดานเลี้ยงดูปูเสื่ออย่างอิ่มหนำสำราญเป็นต้น ซึ่งด้วยผลบุญกุศลเหล่านี้เอง เมื่อช้างเชือกนั้นล้มตายก็ได้เกิดเป็นเอราวัณเทพบุตรเช่นเดียวกับคณะ 33 ทุกคนนั่นเอง

 

สรุป 

กำเนิดช้างเอราวัณ พาหนะของพระอินทร์เป็นเรื่องราวตามความเชื่อทางศาสนาโดยเชื่อว่าช้างเอราวัณ เป็นเหมือนสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ และยังเป็นช้างที่มีฤทธิ์มากจึงถูกเรียกว่าพญาของช้างทั้งปวง ตำนานความเชื่อเกี่ยวกับช้างเอราวัณมีมากมาย และช้างเอราวัณยังเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนในปัจจุบันกราบไหว้บูชาเพื่อขอพรหรือโชคลาภกันอีกด้วยนั่นเอง

ยังมีเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งท่านสามารถติดตามที่จากเว็บนี้